หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
สมรรถนะผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Halal Entrepreneurs Competencies for support south province of Thailand
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย นวิทย์ เอมเอก
ผู้ร่วมวิจัย
นาย เกียรติศักดิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ผู้ร่วมวิจัย
นาย ดนุวัศ สุวรรณวงศ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ธุรกิจอาหารฮาลาล, ชายแดนภาคใต้
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยประกอบด้วยปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการแข่งขัน สมรรถนะเชิงพฤติกรรม
ในประเด็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยพบว่า ขาดผู้นำในการดำเนินการเรื่องฮาลาลเป็นรูปธรรม และจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้งจึงเกิดความไม่ต่อเนื่องในการบูรณาการเชื่อมโยง การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจฮาลาล ภาครัฐขาดหน่วยงานรับผิดชอบหลักและเชื่อมโยงการพัฒนาฮาลาลทุกภาคส่วนให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องมีประสิทธิภาพ ขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลสินค้า ขาดกฎหมายเฉพาะด้านฮาลาล และการคุ้มครองผู้บริโภคฮาลาลของประเทศ จึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งยังไม่มีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน และการถ่วงดุลกันของหน่วยงานรับรอง (Certification Body : B) หน่วยงานตรวจสอบ(Accreditation: AB) และหน่วยงานสนับสนุน (Supporting Body) ที่จะทำให้การพัฒนาธุรกิจฮาลาลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นทางปฏิบัติ ในด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการตลาด ภาครัฐขาดการประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจฮาลาล การโฆษณามาตรฐานแบรนด์ฮาลาล ของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการในประเทศได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาสู่ตลาดฮาลาลโลก และยังขาดการสนับสนุนผู้ประกอบการ การรับรองและพัฒนามาตรฐาน ระบบรับรองฮาลาลของไทยขาดแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกัน รวมถึงการขาดการปรับปรุงกฎหมาย ให้มีความเหมาะสมกับการเปิดเสรีการค้า หรือเพื่อกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ละเมิดการรับรองฮาลาล ขาดการพัฒนาผู้ประกอบกิจการฮาลาล และขาดลำดับความสำคัญผลิตภัณฑ์ ที่จะพัฒนาสินค้าฮาลาลหลักของประเทศ การดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทำให้การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลยังไม่ประสบความสำเร็จ
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU