ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย แนวทางการจัดบริการระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Guidelines for Public Wireless LAN Service of Songkhla City Municipality

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ศดานนท์ วัตตธรรม
ผู้ร่วมวิจัยผศ. ปิยกุล จันทบูรณ์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว กรณิภา ศรีวรเดชไพศาล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1.5 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ความคาดหวัง, การบริการสาธารณะ, ระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะ
บทคัดย่อ        การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนในการรับบริการระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา และ 2) เพื่อหาแนวทางการจัดบริการระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่ จำนวน 400 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชน โดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนประชาชนหรือแกนนำชุมชนในเขตพื้นที่ จำนวน 10 คน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ
       ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคาดหวังของประชาชนต่อระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเสมอภาค/ทั่วถึงต่อระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะ (mean=3.83 , S.D.=0.73) ด้านความต่อเนื่องต่อระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะ (mean=3.85 , S.D.=0.79) และด้านความคุ้มค่า/ประสิทธิภาพต่อระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะ (mean=4.22, S.D.=0.71) ในส่วนของการเปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนต่อระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประชาชนที่มีรายได้ และภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีความคาดหวังแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
       สำหรับแนวทางการจัดบริการระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลนครสงขลา พบว่า ควรเป็นความร่วมมือกันระหว่าง “เทศบาล” และ “บริษัทเอกชน” เช่นเดียวกับรูปแบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้การบริหารจัดการระบบเครือข่ายไร้สายสาธารณะของเทศบาลเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักประสิทธิภาพ หลักความคุ้มค่า และหลักความรับผิดชอบในการจัดทำบริการสาธารณะ สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการของคนส่วนใหญ่และความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการต่อบริการดังกล่าวของเทศบาล
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU