หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ผลของปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพต่อประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพด้วยระบบตัวกรองชีวภาพโดยกลุ่มจุลินทรีย์
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Effect of Physical and Biological Parameters on Hydrogen Sulfide Removal Efficiency from Biogas by Mixed Consortium Biofilter
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย เกียรติศักดิ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
600,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ไฮโดรเจนซัลไฟด์, ก๊าซชีวภาพด้วยระบบตัวกรองชีวภาพ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบด้วยระบบตัวกรองชีวภาพ ประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์จากการสำรวจโดยการสอบถามและการยืนยันผลในห้องปฏิบัติการให้ผลสอดคล้องกัน การสำรวจพบว่าโรงงานที่มีประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ดีที่สุดร้อยละ98คือ โรงงาน A และ Pทั้ง 8 โรงงาน มีประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์อยู่ในช่วงร้อยละ 93-98การประเมินประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในห้องปฏิบัติการจากเชื้อจุลินทรีย์ในระบบตัวกรองชีวภาพของโรงงาน พบว่าโรงงานที่มีประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้สูงร้อยละ82-83คือโรงงาน A และ P และมีกิจกรรมสำหรับอัตราการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงถึง 0.35กรัมต่อลิตรต่อวันการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเคมีและกายภาพของการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ของตะกอนจุลินทรีย์จากระบบตัวกรองชีวภาพโรงงาน A และ P พบว่าการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ทำให้มีค่าพีเอชลดลงจาก 7.12เป็น 6.40 สามารถออกซิไดซ์ไฮโดรเจนซัลไฟด์ให้กลายเป็นซัลเฟอร์เพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณซัลเฟอร์เพิ่มจาก 6,300มิลลิกรัมต่อลิตรเป็น 13,650มิลลิกรัมต่อลิตรหลังการบำบัดและสามารถออกซิไดซ์ไฮโดรเจนซัลไฟด์กลายเป็นซัลเฟตโดยมีความเข้มข้นของปริมาณซัลเฟตเพิ่มขึ้นถึง 300มิลลิกรัมต่อลิตร โครงสร้างประชากรแบคทีเรียในระบบตัวกรองชีวภาพจากโรงงาน A และ P เด่นด้วยกลุ่มแบคทีเรีย
Azospirillum
sp.โรงงานP (บริษัท พิทักษ์ปาล์มออยล์ จำกัด) ได้ถูกคัดเลือกนำมาศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อจุลินทรีย์ในระบบตัวกรองชีวภาพในการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์แบบต่อเนื่องในระดับห้องปฏิบัติการพบว่าที่อัตราการไหลของก๊าซ 1,500 มิลลิลิตรต่อนาที มีความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงถึงร้อยละ 0.331 จุลินทรีย์สามารถบำบัดให้ลดลงในระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.001หลังการบำบัดภายในช่วงระยะเวลา 10 วันกลุ่มจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ดีที่สุดซึ่งสูงถึงร้อยละ 99.77และมีอัตราการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์0.33 กรัมต่อลิตรต่อวันการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเคมีและกายภาพของการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยตะกอนจุลินทรีย์ในระบบต่อเนื่อง พบว่าค่าพีเอชของระบบลดลงจาก 7.32เป็น 6.41มีปริมาณซัลเฟอร์เพิ่มขึ้นจาก 5,467เป็น 15,133 มิลลิกรัมต่อลิตรและสามารถออกซิไดซ์ไฮโดรเจนซัลไฟด์ไปเป็นซัลเฟตเพิ่มขึ้นจาก 18เป็น 322 มิลลิกรัมต่อลิตร เด่นด้วยแบคทีเรียในกลุ่ม
Azospirillum
sp.
, Sphingomonas
sp.และ
Bacillus
sp.จากการศึกษาผลของออกซิเจนต่อประสิทธิภาพการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพด้วยระบบตัวกรองชีวภาพโดยกลุ่มจุลินทรีย์โดยการเติมไนเตรท และให้ออกซิเจนลงไปในระบบพบว่าการเติมไนเตรทไม่มีผลต่อการลดลงของปริมาณซัลไฟด์ แต่ส่งผลต่อการลดลงของไฮโดรเจนซัลไฟด์เล็กน้อย แสดงว่าการบำบัดไฮโดรเจนซัลไฟด์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยจุลินทรีย์กลุ่มไร้อากาศและพบว่าในช่วงการทดลองแรก (ก่อนเติมอากาศ) มีแบคทีเรียเด่นทั้งหมด 2 จีนัสได้แก่
Azospirillum
sp. และ
Paracoccus
sp.หลังเติมอากาศพบแบคทีเรียเด่นทั้งหมด3 จีนัสได้แก่
Enterobacter
sp.,
Rhodopseudomonas
sp. และ
Sphingomonas
sp.
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU