หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวดำ ในอำเภอสิงหนครและอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Strategic Marketing Planning for Black Glutinous Rice Product in Amphoe Singhanakorn and Amphoe Khlonghoykhong, Songkhla Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. อมรรัตน์ ชุมทอง
ผู้ร่วมวิจัย
นาย เธียรชัย พันธ์คง
ผู้ร่วมวิจัย
นาย วรพัฒน์ สายสิญจน์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2556
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
4 ปี
งบประมาณ
648,800 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ข้าวเหนียวดำ, การวางแผนกลยุทธ์การตลาด
บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการวางแผนกลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวดำในอำเภอสิงหนครและอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวดำของเกษตรกร ในอำเภอสิงหนคร และอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดข้าวเหนียวดำของเกษตรกรในอำเภอสิงหนคร และอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนกลุ่มผู้บริโภค ในอำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหอยโข่ง และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 400คน เพศชาย 109คน และเพศหญิง 291คน มีอายุมากกว่า 50ปี มีรายได้น้อยกว่า 10,000บาทต่อเดือน วัตถุประสงค์หรือโอกาสในการซื้อข้าวสารเหนียวดำ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการซื้อไปเพื่อทำขนมรับประทานในครอบครัว และทำขนมหรือทำอาหารเนื่องในวันสำคัญ
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาดข้าวเหนียวดำ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวดำประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ขนาดครอบครัว รายได้ อาชีพ และวัตถุประสงค์ในการซื้อ โดยเพศหญิงให้ความสำคัญกับเรื่องผลิตภัณฑ์และเรื่องราคาสูงกว่าเพศชาย ปัจจัยอายุ ผู้มีอายุมากให้ความสำคัญมากกับเรื่องผลิตภัณฑ์ ส่วนผู้มีอายุน้อยให้ความสำคัญมากกับเรื่องการส่งเสริมการขาย ปัจจัยระดับการศึกษา ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาและผู้จบชั้นประถมศึกษามีการให้ความสำคัญกับเรื่องผลิตภัณฑ์มากกว่าผู้มีการศึกษาสูง แต่กลุ่มผู้มีการศึกษาสูงให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมการขายมากกว่า ปัจจัยขนาดครอบครัว ผู้ที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-5คน ให้ความสำคัญเรื่องราคามากกว่ากลุ่มอื่นๆ สำหรับปัจจัยรายได้ ผู้ที่มีรายได้อยู่ระหว่าง 2,501-30,000บาทต่อเดือน ให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมการขายมากที่สุด ปัจจัยอาชีพ ผู้ที่มีอาชีพเป็นเกษตรกรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องผลิตภัณฑ์และราคามากกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนที่มีอาชีพค้าขายให้ความสำคัญมากที่สุดกับการลดราคา และผู้บริโภคที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนให้ความสำคัญมากที่สุดกับการแนะนำคุณสมบัติของข้าวเหนียว และการบริการขนส่ง วัตถุประสงค์ในการซื้อ ผู้ซื้อที่ซื้อข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมขายและผู้ซื้อที่ข้าวเหนียวดำเพื่อนำไปขายต่อให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย สูงกว่ากลุ่มผู้ซื้อทั่วไป สำหรับผู้ซื้อข้าวเหนียวดำไปทำขนมรับประทานในครอบครัวให้ความสำคัญกับการแนะนำคุณสมบัติของข้าวเหนียว และการบริการขนส่งน้อยกว่ากลุ่มผู้ซื้อทั่วไป นอกจากผู้ซื้อข้าวสารเหนียวดำในช่วงวันสำคัญให้ความสำคัญเรื่องผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มผู้ซื้อทั่วไป
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU