หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การปลูก คุณสมบัติ การเก็บรักษา และการวางแผนกลยุทธุ์ทางการตลาด ของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Cultivation , Properties, Storage and Strategic Marketing Planning of Black Glutinous Rice Varieties in Klonghoykhong and Singhanakorn Amphor, Songkhla Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาง สุเพ็ญ ด้วงทอง
ผู้ร่วมวิจัย
นาย พงษ์ศักดิ์ มานสุริวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. อมรรัตน์ ชุมทอง
ผู้ร่วมวิจัย
ดร. อดิศรา ตันตสุทธิกุล
ผู้ร่วมวิจัย
นาย เธียรชัย พันธ์คง
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา
ผู้ร่วมวิจัย
นาย วรพัฒน์ สายสิญจน์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2556
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
4 ปี
งบประมาณ
648,800 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ข้าวเหนียวดำ, พันธุ์, การปลูก, การเปลี่ยนแปลงคุณภาพ, แผนกลยุทธ์ทางการตลาด
บทคัดย่อ
ข้าวเหนียวดำเป็นข้าวที่นิยมบริโภคและให้คุณค่าทางอาหารมากมาย เรียกตามภาษาพื้นเมืองของทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ข้าวก่ำ สำหรับภาคใต้นิยมเรียกว่า ข้าวเหนียวดำ มีแอนโทไซยานินซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน การส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวดำ พบว่ามีความสำคัญอย่างสูงในแงเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การตลาดรวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวให้สูงขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ ในภาคใต้จะปลูกในพื้นที่สวนยางที่ปลูกใหม่หลังจากได้รับทุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพื้นที่ปลูกสาวนใหญ่ไม่เกิน 10 ไร่ อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน ผลจากการทดสอบการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง เมื่อปลูกในสภาพที่ลุ่ม ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร โดยปลูก 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เปลือกดำและพันธุ์เปลือกขาว พบว่าข้าวทั้ง 2 พันธุ์ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตและผลผลติต่างกัน โดยข้าวเหนียวดำพันธุ์เปลือกดำมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่า (125 วัน) ให้ผลผลิตมากที่สุด 556.44 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปลือกขาวมีอายุการเก็บเกี่ยว 140 วัน ให้ผลผลิต 476.67 กิโลกรัมต่อไร่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เปลือกดำให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูงเหมาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ส่วนการศึกษาคุณสมบัติของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา โดยพันธุ์ข้าวเหนียวดำที่นำมาวิจัย คือ พันธุ์เปลือกดำ (ส่วนเปลือกมีสีดำ) และพันธุ์เปลือกขาว (ส่วนเปลือกมีสีเหลือนวล) แต่เมื่อนำมาขัดสี ลักษณะปรากฏและสีของข้าวสารเหนียวดำทั้งสองพันธุ์จะแตกต่างกันเล็กน้อย การนึ่งข้าวเหนียวดำให้นุ่นอร่อย ต้องแช่ข้าวเหนียวดำในน้ำก่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และนึ่งประมาณ 50 นาที การเก็บรักษาข้าวเหนียวดำควรบรรจุในถุงชนิดอลูมิเนียมฟอยล์ สามารถเก็บได้ประมาณ 3-4 เดือน ส่วนด้านศักยภาพการตลาด การจำหน่ายข้าวเหนียวดำในพื้นที่มีการจำหน่ายในรูปแบบของข้าวเปลือกเหนียวละข้าวสารเหนียว ข้าวเปลือกจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าข้าวสารเหนียวข้าวเปลือกเหนียวปัจจุบันมีราคาประมาณ 70 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนข้าวสารเหนียวราคาประมาณ 60-68 บาทต่อกิโลกรัม
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU