ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ปัจจัยการไหลของน้ำเข้า-ออก และระยะเวลากักน้ำ ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบริเวณเกาะลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Effects of inlet-outlet characteristics and retention time upon water quality in the reservoir surrounding the Koh Loi, Songkhla Rajabhat University

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. ขวัญกมล ขุนพิทักษ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ 2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 44,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การไหลของน้ำ, เกาะลอย, คุณภาพน้ำ, คุณภาพผิวดิน, ราชภัฏสงขลา
บทคัดย่อ        การศึกษาปัจจัยการไหลของน้ำเข้า-น้ำออก  แบะระยะเวลากักเก็บน้ำ  ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบริเวณเกาะลอย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ระหว่าง พ.ศ.2551-2552 วัตถุประสงค์ของการวิจัย  เพื่อศึกษาปัจจัยของการไหลของน้ำเข้า-น้ำออก (Influent - Effluent)  และระยะเวลาการเก็บกัก (Retention Time) ของน้ำบริเวณเกาะลอย  ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำ  และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการควบคุมระยะเวลาเก็บกักของน้ำบริเวณเกาะลอยเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ  โดยทำการเก็บตัวอย่าง  แบ่งเป็นฤดูฝนและฤดูร้อน  ฤดูละ 2 ครั้ง  ซึ่งนำตัวอย่างมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ-เคมี  ทั้งหมด 11 พารามิเตอร์  ความเป็นกรด-ด่าง  ความนำไฟฟ้า  ความโปร่งแสง  อุณหภูมิ  ออกซิเจนละลาย  บีโอดี  ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด  ไนเตรท  แอมโมเนีย  ทีเคเอ็นไนโตรเจน  และฟอสเฟต  ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริเวณสระบริเวณเกาะลอย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาพบว่า  ฤดูร้อน  ความโปร่งแสงมีค่าเฉลี่ย 0.27 เมตร  ความนำไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ย 232.55 ไมโครซิเมนต์ต่อเซนติเมตร  ความเป็นกรด-ด่างมีค่าเฉลี่ย 6.95  อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ย 29.9 องศาเซลเซียส  ของแข็งแขวนลอยทั้งหมดทีค่าเฉลี่ย 26.70 มิลลิกรัมต่อลิตร  ออกซิเจนละลายมีค่าเฉลี่ย 7.04 มิลลิกรัมต่อลิตร  บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 2.32 มิลลิกรัมต่อลิตร  ฟอสเฟตมีค่าเฉลี่ย 0.02 มิลลิกรัมฟอสเฟตต่อลิตร  ทีเคเอ็นไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 0.49 มิลลิกรัมต่อลิตร  ไนเตรทมีค่าเฉลี่ย 0.11 มิลลิกรัมต่อลิตร  แอมโมเนียมีค่าเฉลี่ย 0.62 มิลลิกรัมต่อลิตร  ส่วนฤดูฝน  ความโปร่งแสง  มีค่าเฉลี่ย 0.48 เมตร  ความนำไฟฟ้ามีค่าเฉลี่ย 246.25 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร  ความเป็นกรด-ด่างมีค่าเฉลี่ย 6.91  อุณหภูิมีค่าเฉลี่ย 26.9 องศาเซลเซียส  ของแข็งแขวนลอยทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยมีค่าเฉลี่ย 13.75 มิลลิกรัมต่อลิตร  ออกซิเจนละลายมีค่าเฉลี่ย 4.19 มิลลิกรัมต่อลิตร  บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 0.75 มิลลิกรัมต่อลิตร  ฟอสเฟตมีค่าเฉลี่ย 0.02 มิลลิกรัมฟอสเฟตต่อลิตร  ทีเคเอ็นไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 2.14 มิลลิกรัมต่อลิตร  ไนเตรทมีค่าเฉลี่ย 0.41 มิลลิกรัมต่อลิตร  ซึ่งทั้ง 2 ฤดู เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน  พบว่าคุณภาพน้ำจัดอยู่ในประเภทที่ 3 และไม่มีพารามิเตอร์ที่เกินมาตรฐาน

       ปัจจัยการไหลของน้ำเข้า-น้ำออก  และระยะเวลาเก็บกักน้ำ  มีผลต่อคุณภาพน้ำบริเวณเกาะลอย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  เนื่องจากทางเข้าของน้ำมีทางเดียว (จุดเก็บตัวอย่างน้ำที่ 1)  ทำให้ความสกปรกของน้ำไม่มากนัก  คุณภาพของน้ำยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าปริมาณไนโตรเจนไนเตรทและแอมโมเนีย  ค่าเฉลี่ยไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินกำหนดไว้  แต่อย่างไรก็ตามหากมีการปนเปื้อนของสารอาหารเหล่า  และปริมาณฟอสเฟตอาจจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำ  ทำให้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในอนาคต  ซึ่งเป็นผลทำให้แพลงตอนพืชเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้  อีกทั้งปัจจัยระยะเวลาของการกักเก็บน้ำ  ก็ยังสามารถเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำได้หากมีระยะเวลากักเก็บน้ำเกิน 10 วัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและไม่มีกระแสลมพัดบริเวณผิวน้ำ  ก็จะส่งเสริมให้ปริมาณธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น  จนทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมลงได้เช่นเดียวกัน

       ทางมหาวิทยาลัยมีการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณเกาะลอยทุก 3 เดือน  และควรมีป้ายแสดงคุณภาพน้ำเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน  นอกจากนี้  ควรมีการวางระบบท่อการไหลเข้า-ไหลออกของน้ำอย่างชัดเจน  มีการขุดลอกตะกอนดินที่สะสมอยู่ให้เกิดการทับถมน้อยลง  และช่วยเพิ่มความโปร่งแสงของน้ำให้สามารถส่องถึงท้องน้ำได้  เพื่อทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU