ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสจากผักในครัวเรือน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย สุพัตร์ หลังยาหน่าย

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ผักในครัวเรือน, อะซิติลโคลีน, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส, โรคอัลไซเมอร์
บทคัดย่อ           ศึกษาผักในครัวเรือน 25 ชนิด ที่มีฤทธิ์ต้านโรคอัลไซเมอร์โดยอาศัยกลไกการต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส (AChE) คัดเลือกพืชสมุนไพรมาทดสอบฤทธิ์ด้วยวิธีการของ Ellman และคณะ (1961)ดัดแปลงโดย Ingkaninan และคณะ (2003)คำนวณหาค่าเปอร์เซ็นต์ต้านการทำงานของเอนไซม์ AChEโดยใช้ Galantamine เป็นสารอ้างอิงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดด้วยเมทานอลที่ความเข้มข้น 0.1 mg/ml ของส่วนฝักของถั่วฝักยาว (Vigna unguiculata (L.) Walp.) และฝักของถั่วพู (Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.) แสดงค่าการต้านเอนไซม์ได้ดีที่สุด โดยมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ AChEในระดับปานกลาง เท่ากับ 53.05 ± 1.78 และ 50.70 ± 0.30 ตามลำดับ ส่วนผักในครัวเรือนชนิด อื่นๆ มีค่าการต้านเอนไซม์ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำผลการศึกษาที่ได้นี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการนำถั่วฝักยาว และถั่วพู ไปแยกหาสารบริสุทธิ์ที่ออกฤทธิ์ยังเอนไซม์ AChE ต่อไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อีกทั้งข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการคัดเลือกพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ มาทำการทดสอบฤทธิ์ต่อไป
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU