 |
|
 |
|
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย |
ความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและพันธุศาสตร์ของแมลงวันผลไม้และแมลงเบียนในภาคใต้ของประเทศไทย |
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ |
- |
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ | นาย วีรยุทธ ทองคง |
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย |
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) |
สาขาการวิจัย |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
ปีงบประมาณ |
2557 |
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย |
2 ปี |
งบประมาณ |
500,000 บาท |
พื้นที่ทำการวิจัย |
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา |
ผู้ประสานงานในพื้นที่ |
- |
สถานะของผู้ประสานงาน |
- |
ประเภทงานวิจัย |
เดี่ยว |
สถานะงานวิจัย |
ดำเนินการเสร็จสิ้น |
คำสำคัญ |
แมลงวัน, นิเวศวิทยาและพันธุศาสตร์ |
บทคัดย่อ |
สำรวจความหลากหลายของแมลงวันผลไม้ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล กระบี่ พัทลุงและสงขลา เพื่อศึกษาความหลากหลายของแมลงวันผลไม้และแตนเบียน ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 สำรวจ 2 วิธี คือ เก็บจากร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ และการใช้สวิง พบจำนวนของแมลงวันผลไม้ทั้งหมด 1 วงศ์ย่อย คือ Dacinae จำแนกได้ 4 ชนิด คือ Bactrocera dorsalis, Bactrocera umbrosa, Bactrocera carambolaeและBactrocera papayaeพืชอาหารทั้งหมด 8วงศ์ 12ชนิด ได้แก่ แก้วมังกร มะละกอ กระท้อน ลองกอง ขนุน จำปาดะ ฝรั่ง พุทรา ส้มโอ มะนาว พริก และมะเขือเปราะ พบแตนเบียนทั้งหมด 5 วงศ์ 12ชนิด ได้แก่ วงศ์ Braconidae(4 ชนิด) วงศ์ Dryinidae (1 ชนิด) วงศ์ Evaniidae(1 ชนิด) วงศ์ Ichneumonidae (4 ชนิด) และวงศ์ Scelionidae(2 ชนิด) แตนเบียนทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่Aleiodesin discretus, Bracon hebetor, Asobara sp., Cotesia plutellae, Telenomus dignoides, Ateleute minusculae, Diplazon laetotorius, Telenomus sp., Evania appendigaster, Hadrocryptus sp., Charops sp. และ Dryinus koebelei |
Fulltext |
[Download] |
จำนวนการอ่าน |
|
|
Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU
|
|
|
|