ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย |
การพัฒนาชุดตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ |
The Development of Bio-Gas Detector with Computer Program |
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ | นาย เสกสรร ชะนะ | ผู้ร่วมวิจัย | นาย ลัญฉกร นิลทรัตน์ |
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย |
งบประมาณแผ่นดิน(วช.) |
สาขาการวิจัย |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
ปีงบประมาณ |
2558 |
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย |
1 ปี |
งบประมาณ |
259,629 บาท |
พื้นที่ทำการวิจัย |
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา |
ผู้ประสานงานในพื้นที่ |
- |
สถานะของผู้ประสานงาน |
- |
ประเภทงานวิจัย |
เดี่ยว |
สถานะงานวิจัย |
ดำเนินการเสร็จสิ้น |
คำสำคัญ |
ปริมาณก๊าซชีวภาพ, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
บทคัดย่อ |
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ โดยเลือกใช้โปรแกรม LabVIEW ในการพัฒนาวัดค่าปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพและบันทึกผลเก็บไว้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการผลิตก๊าซชีวภาพได้ง่ายและมีความปรอดภัยมากยิ่งขึ้น
จากการทดลองผู้ดำเนินงานวิจัยได้สร้างชุดสาธิตการแสดงผลการตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพที่สามารถบอกระยะเวลาและปริมาณในการเกิดก๊าซชีวภาพ โดยจัดทำชุดอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณประเภทเซ็นเซอร์ทรานสดิวเซอร์ติดตั้งไว้ในส่วนของวงจรควบคุมสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณทางไฟฟ้าเข้ากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ภายในถังหมักก๊าซชีวภาพ โดยออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้ทำการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิ และก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นภายในถังหมักก๊าซชีวภาพ ผ่านทางอุปกรณ์เซ็นเซอร์ทรานสดิวเซอร์ที่ติดตั้งไว้มาแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรม LabVIEW เป็นโปรแกรมติดต่อสื่อสารระหว่าง ส่วนของอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณภายนอกกับส่วนของการวิเคราะห์และประมวลผลสัญญาณผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการทดลองพบว่า การวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นภายในถังหมักก๊าซชีวภาพสามารถวัดค่าสัญญาณที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณประเภทเซ็นเซอร์ทรานสดิวเซอร์ที่ส่งสัญญาณออกมาเป็นปริมาณแรงดันไฟฟ้า (Voltage) จากนั้นทำการเชื่อมต่อสัญญาณเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม LabVIEW เพื่อเปลี่ยนแปลงค่าสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นค่าของปริมาณ อุณหภูมิ และปริมาณก๊าซชีวภาพสำหรับนำมาแสดงผลและทำการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิ และก๊าซชีวภาพ ที่อยู่ภายในถังหมักก๊าซชีวภาพในแต่ละวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยเลือกใช้มูลสุกรในการหมักก๊าซชีวภาพ ทำการทดลองครั้งที่ 1 ตั้งแต่ วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ถึง วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพจำนวน 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว ทดลองครั้งที่ 2 ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ตั้งแต่ วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ถึง วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพจำนวน 300 ปอนด์/ตารางนิ้ว ค่าที่วัดได้จะแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา จากผลการวิจัยในครั้งนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงทางด้านอุตสาหกรรมหรือด้านเกษตรกรรม เพื่อที่จะทำการแสดงผลปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Fulltext |
[Download] |
จำนวนการอ่าน |
|
|