หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจำปาดะ
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Development of Champedak (Artocarpus integer) Jam Product
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร. ทัศนา ศิริโชติ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและ อบจ.สตูล
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
42,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
จำปาดะ, แยม, เพคติน, การเก็บรักษา
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมโดยใช้เนื้อจำปาดะซึ่งเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่พบมากในพื้นที่ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยศึกษาปริมาณเพคตินที่เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์แยมจำปาดะ ที่ปริมาณเพคตินร้อยละ 0, 1, 2, 3 และ 4 ของส่วนผสม พบว่า ได้รับคะแนนการยอมรับจากผู้ทดสอบในด้านลักษณะปรากฏไม่แตกต่างกันทางสถิติ (
p
>
0.05)ในขณะเดียวกัน การเติมปริมาณเพคตินทำให้แยมจำปาดะได้รับคะแนนการยอมรับจากผู้ทดสอบสูงกว่าแยมจำปาดะที่ไม่มีการเติมเพคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (
p
<0.05)การใช้ปริมาณเพคตินร้อยละ 3 และ 4 ของส่วนผสม ผู้ทดสอบให้คะแนนการยอมรับ
ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นในการผลิตแยมจำปาดะจึงเลือกการใช้เพคตินร้อยละ 3 ของส่วนผสม สูตรแยมจำปาดะที่เหมาะสมประกอบด้วย เนื้อจำปาดะบดละเอียด 200 กรัม น้ำเปล่า 400 กรัม น้ำตาลทราย 375 กรัม น้ำมะนาว 6 กรัม เกลือ 0.2 กรัม และเพคติน 6 กรัม
จากการศึกษาความคงตัวในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่า ผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงของความแข็งแรงของเจล ได้แก่ ค่า Hardnessค่า Stickinessและค่า Adchesivenessเพียงเล็กน้อยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา เช่นเดียวกับค่าสีที่พบว่า L* และ b*จะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่า a* จะลดลง ส่วนค่าความชื้นของผลิตภัณฑ์แยมจำปาดะจะมีค่าเพิ่มขึ้นในช่วงการเก็บรักษาในวันที่ 30 และเพิ่มสูงขึ้นจนสิ้นสุดระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 60 วัน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางคุณลักษณะทางด้านจุลินทรีย์ ได้แก่ จุลินทรีย์ทั้งหมด, ยีสต์และรา และเอสเชอริเชีย โคไล มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแยม (มผช.342/2547)
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU