หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การออกแบบโนราเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Choreography of Nora Dance for Klongdan floating market Touristsm Support Ranote District Songkhla Province.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. ทัศนียา คัญทะชา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.คลองแดน อ.ระโนด จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
โนรา, ตลาดน้ำคอลงแดน, ระโนด, สงขลา
บทคัดย่อ
การออกแบบการแสดงโนราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำาคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดน และออกแบบการแสดงโนราเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดน 1ชุด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) โดยใช้ตัวผู้วิจัย แบบสอบถามแบบไม่เป็นทางการ การสังเกต การสนทนากลุ่ม แบบบันทึก ข้อมูลภาคสนาม และโซเชี่ยลมีเดีย (Facebook) เป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าการแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดน แสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 30พ.ค.2552 ซึ่งเป็นวันที่คณะนักวิจัยชุดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงรุกเพื่อฟื้นฟูชุมชนในชนบท กรณีศึกษา : ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ส่งมอบงานวิจัยให้ชุมชน ใช้นักแสดงทั้งหมด 65 คน มีการรำโนราบนสะพานไม้เพื่อสื่อถึงนิยามของชุมชน “สามคลองสองเมือง” นักแสดงเป็นนักเรียนจากโรงเรียนคลองแดนวิทยา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ 11 และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา การแสดงโนราในตลาดริมน้ำคลองแดนตั้งปี 2552 – 2559 มี 6 รูปแบบ ได้แก่ การรำประสมท่ารำบทสอนรำ รำบทประถม รำบทครูสอน การออกพราน และการเชิดหุ่น ลีลาท่ารำ 2 สายตระกูล คือ สายท่านขุนอุปถัมภ์นรากร และโนราหนูอาบ เจริญศิลป์ นักแสดงจากสองโรงเรียนในชุมชนคลองแดน คือ โรงเรียนคลองแดนวิทยาและโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 11จากผลการศึกษาประวัติการแสดงโนรา ในตลาดริมน้ำคลองแดน นำมาออกแบบการแสดงโนราซึ่งได้แนวคิดจากเอกลักษณ์เฉพาะจุดเด่นของชุมชน และความนิยมของนักท่องเที่ยวในสมัยนี้ชื่นชอบการถ่ายภาพลงโซเชี่ยลมีเดีย (Facebook) จึงออกแบบการแสดงชุด “จินตภาพโนราคลองแดน” เป็นการแสดงประกอบการร้องบททำนองเพลงทับเพลงโทน ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ในบทร้องมีเนื้อหาสื่อถึงอัตลักษณ์ของชุมชนและเชิญชวนนักท่องเที่ยว ท่ารำแบ่งออกเป็น 3ช่วง คือ ช่วงที่ 1ร าประสมท่าใช้ท่ารำ 11ท่า ช่วงที่ 2ร าประกอบบทร้องทำนองเพลงทับเพลง โทนใช้ท่ารำ 24ท่า และช่วงที่ 3รำท่าครูใช้ท่ารำ 3ท่า รวมท่ารำทั้งหมด 38ท่า การสร้างสรรค์การแสดงโนราให้เป็นลักษณะเฉพาะของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้ชมการแสดงจะเข้าใจประวัติที่มาของสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU