หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
พฤติกรรมการเคลื่อนย้ายแรงงานในอุตสาหกรรมยางในจังหวัดสงขลา เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Labor movement behavioral in rubber gloves industrial to support AEC in Songkhla Province.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย นวิทย์ เอมเอก
ผู้ร่วมวิจัย
นาย ดนุวัศ สุวรรณวงศ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
แรงงานในอุตสาหกรรมยาง, พฤติกรรม, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน (Mixed Method Research) โดยการวิจัยแบบเรียงตามลำดับ (The Sequential Design) ประชากรการวิจัยเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมถุงมือยางในจังหวัดสงขลา มีจำนวนทั้งสิ้น 13,000 ราย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 390 ตัวอย่าง แต่เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล จึงเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็น 400 ตัวอย่าง โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแรงงานรายวันจำนวน 400 คนจากแรงงานรายวันจำนวน 15 โรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยางในจังหวัดสงขลา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จากโรงงาน 4 แห่ง คือโรงงานที่มีแรงงานมากกว่า 2,000 คน จำนวน 2 โรงงาน และโรงงานที่มีแรงงานน้อยกว่า 2,000 คน จำนวน 2 โรงงาน จำนวนโรงงานละ 100 ตัวอย่าง รวมเป็น 400 ตัวอย่าง ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลักใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำนวน 15 ท่าน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling technique) มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคม และเศรษฐกิจของแรงงาน 2) เพื่อศึกษาลักษณะการทำงาน และการจ้างแรงงาน 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของแรงงาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการทำงาน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงงาน 5) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการทำงานของแรงงาน และ 6) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยางในจังหวัดสงขลาเพื่อรองรับ AEC
พบว่า ปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนย้ายแรงงานในอุตสาหกรรมยางในจังหวัดสงขลาเพื่อรองรับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย 1)ลักษณะทางสังคม และเศรษฐกิจของแรงงาน2) ลักษณะงาน และสภาพแวดล้อม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4) ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อการทำงาน 5) รายได้ มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการเปลี่ยนงานของแรงงานในอุตสาหกรรมยางในจังหวัดสงขลา
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU