ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะด้วยเชื้อ Bacillus sp.
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Development of Bioextract Fermented from Champedak Peel by Bacillus sp.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. อมรรัตน์ ชุมทอง
ผู้ร่วมวิจัยรศ.ดร. คริษฐ์สพล หนูพรหม

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ เปลือกจำปาดะ, หมักชีวภาพ
บทคัดย่อ            เปลือกจำปาดะเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีมากทางภาคใต้ของประเทศไทย มีคาร์โบไฮเดรตสูงเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะด้วยเชื้อ Bacillussp.และศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยทำการเตรียมน้ำหมักชีวภาพ 6 สูตร มีส่วนประกอบและอัตราส่วน ดังนี้1)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 1(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 250 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม) 2)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 250 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อ Bacillus sp. 25 มิลลิลิตร) 3)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 125 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม) 4)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + กากน้ำตาล 125 มิลลิลิตร + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อ Bacillus sp. 25 มิลลิลิตร) 5)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 5(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + น้ำเปล่า 10ลิตร + สารเร่งซุปเปอร์พด.2 25 กรัม)และ 6)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 6(เปลือกจำปาดะ 3 กิโลกรัม + น้ำเปล่า 10ลิตร + เชื้อBacillus sp. 25 มิลลิลิตร) พบว่า หลังจากการหมัก 30วัน น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกจำปาดะแต่ละสูตรมีสมบัติกายภาพและทางเคมีไม่แตกต่างกัน โดยน้ำหมักชีวภาพมีอุณหภูมิในถังหมักอยู่ที่ 28-29องศาเซลเซียส มีสภาพเป็นกรด มี pH 3.3-3.8 ค่าการนำไฟฟ้าสูง (8.5-12.7 dS/m) ปริมาณธาตุอาหารหลักต่ำ (0.02-0.04% N, 30.79-66.72 mg/l P และ 0.13-0.22% K)
           สำหรับผลการทดลองของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งในสภาพแปลงทดลอง ที่ระดับความเข้มข้น 1:500 ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) ประกอบด้วย 8วิธีการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ 1)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 1 2)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 2 3)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 3 4)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4 5)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 5 6)น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 6 7) ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 8) ชุดควบคุม พบว่า ผักกวางตุ้งทุกวิธีการทดลองมีอายุการเก็บเกี่ยว (31.93-35.67 วัน) และการรอดตาย (90.00-97.50 เปอร์เซ็นต์) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ 4ให้จำนวนใบ ความสูงต้น และน้ำหนักสดมากที่สุด (13.30ใบ/ต้น, 40.40 เซนติเมตร/ต้น และ 3,118.93กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ) และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) กับชุดควบคุม (10.27ใบ/ต้น, 31.67 เซนติเมตร/ต้น และ 1,568.00กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ)
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU