ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การคัดแยกแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์โปรตีเอสทนร้อนในสภาวะด่างจากบ่อน้ำร้อน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Isolation of Thermostable Alkaline Protease Producing Bacteria from Hotspring

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. เชาวนีพร ชีพประสพ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ บาซิลลัสทนร้อน, เอนไซม์โปรตีเอสในสภาวะด่าง 165 DNA, สถาวะที่เหมาะสม
บทคัดย่อ           แบคทีเรียทนร้อนเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากจากความสามารถในการผลิตเอมไซม์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม การศึกษาครั้งนี้จึงทำการคัดแยกและศึกษาสภาวะที่มีผลต่อการผลิตเอนไซม์โปรตีเอสของแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากบ่อน้ำร้อนเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และบ่อน่ำร้อนทุ่งนุ้ย จังหวัดสตูล โดยสามารถคัดแยกแบคทีเรียทนร้อนได้ 41 สายพันธ์ แต่ละสายพันธ์สามารถแสดงกิจกรรมของเอมไซม์ที่แตกต่างกันเมื่อทำการทดสอบบนอาหารแข็ง skim milk อย่างไรก็ตามพบว่าสายพันธุ์ PS53 ที่แยกได้จากบ่อน้ำร้อนเขาชัยสน และสายพันธุ์  AN41 ที่แยกได้จากบ่อน้ำร้อนทุ่งนุ้ย แสดงวงใสรอบโคโลนีสูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน 16s rDNA ของแบคทีเรียทั้งสองสายพันธ์พบว่าสายพันธุ์ PS53 บ่งชี้สายพันธุ์ได้เป็น Bacilus cereus ในขณะที่สายพันธุ์ AN41 บ่งชี้สายพันธุ์ได้เป็น Bacilus tequilensis การศึกษาสภาวะของพีเอช อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมต่อการผลิตเอมไซม์โปรตีเอส พบว่า Bacilus cereusสามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสได้สูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงที่พีเอช 9 อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ในเวลา 52 ชั่วโมง (163.86 U/ml) และ Bacilus tequilensis สามารถผลิตเอนไซม์โปรตีเอสได้สูงสุดเมื่อทำการเลี้ยงทำการเลี้ยงที่พีเอช 10 อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 52 ชั่วโมง (127.32 U/ml)
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU