หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
องค์ประกอบทางเคมีและปริมาณอะไมโลสในข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดพัทลุง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Chemical Composition and Amylose Content in Local Rice Variety of Phatthalung Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. เชาวนีพร ชีพประสพ
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว ฤทัยทิพ อโนมุณี
ผู้ร่วมวิจัย
นาย หาสันต์ สาเหล็ม
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
150,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ลำปำ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ข้าวพันธุ์พื้นเมือง, องค์ประกอบทางเคมี, ปริมาณวิตามินบี 1, ปริมาณอะไมโลส
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ปริมาณวิตามินบี 1 และปริมาณอะไมโลส ในตัวอย่างข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 22 สายพันธุ์ จากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว จังหวัดพัทลุงผลการวิเคราะห์พบว่าจะมีเปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรตสูงในข้าวทุกสายพันธุ์ (74.20-80.76เปอร์เซ็นต์) โดยข้าวยาไทรมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงที่สุด ข้าวหมออรุณจะมีปริมาณความชื้นสูงสุด (14.77 เปอร์เซ็นต์)ในขณะที่ข้าวยาไทรจะมีปริมาณความชื้นต่ำสุด (10.42 เปอร์เซ็นต์)ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่จะมีปริมาณเถ้าสูงสุด (1.56 เปอร์เซ็นต์)ในส่วนของปริมาณไขมัน ข้าวหอมจันทร์จะมีปริมาณไขมันสูงสุด (3.33เปอร์เซ็นต์)ในขณะที่ข้าวเจ๊ะแตจะมีปริมาณไขมันต่ำสุด (0.29 เปอร์เซ็นต์)ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่จะมีปริมาณโปรตีนสูงสุด (9.41เปอร์เซ็นต์)และข้าวหมออรุณจะมีปริมาณโปรตีนต่ำสุด (5.61 เปอร์เซ็นต์)นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณวิตามินบี 1 พบว่าข้าวทางหวายจะมีปริมาณวิตามินบี 1 สูงสุด (1.19 มิลิกรัมต่อ 100 กรัม) ขณะที่ข้าวหอมจันทร์จะมีปริมาณวิตามินบี 1 ต่ำสุด (0.13มิลิกรัมต่อ 100 กรัม) และข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั้ง 22 สายพันธุ์สามารถแบ่งได้เป็น 4กลุ่มตามปริมาณ อะไมโลสที่เป็นองค์ประกอบคือ กลุ่มข้าวเหนียวมีปริมาณอะไมโลส 0–9เปอร์เซ็นต์ (ข้าวเหนียวดำหมอ ข้าวเหนียวล้างปิ้งแดง ข้าวเหนียวลันตา และข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่) กลุ่มข้าวอะไมโลสต่ำ มีปริมาณ อะไมโลส 10-19เปอร์เซ็นต์ (ข้าวบัวหอม และข้าวช่อจังหวัด) กลุ่มข้าวอะไมโลสปานกลาง มีปริมาณ อะไมโลส 20-25 เปอร์เซ็นต์ (ข้าวปากอ ข้าวช่อละมุน ข้าวหมออรุณ และข้าวฝ้าย) กลุ่มข้าวอะไมโลสสูง มีปริมาณอะไมโลสมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ (ข้าวนางหอม ข้าวยาไทรข้าวเหนียวลูกผึ้ง ข้าวหอมจันทร์ ข้าวนัง ข้าวช่อจำปา ข้าวเจ๊ะแต ข้าวหอม ข้าวมะลิแดง ข้าวทางหวาย ข้าวแหกหญ้า และ ข้าวศรีรักษ์) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมการเพาะปลูกและอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเมือง รวมทั้งสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในอนาคตได้
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU