ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าว
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว มาริสา จันทร์ฉาย
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว สุจิรา วิจิตร
ผู้ร่วมวิจัยดร. นฤภร ไชยสุขทักษิณ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว อรทัย ไพยรัตน์
ผู้ร่วมวิจัยนาง ณัฏิยา ชูถึง พรหมจันทร์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2545
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 5 ปี
งบประมาณ 300,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ -
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูและนักศึกษาที่จะเป็นครูของท้องถิ่นให้มีทักษะด้านการวิจัยจากโจทย์ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำนาแบบดั้งเดิม เพื่อนำผลการวิจัยจากโจทย์ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน รวมถึงพัฒนาหลักสูตร มาตรฐานที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และพัฒนางานวิจัยเครือข่ายที่มีประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการบริการวิชาการชุมชน เพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากแหล่งบุคคลจากนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาชุมชน และกลุ่มชาวนาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า การเรียนการสอนที่นำเอากระบวนการวิจัยเรื่องภูมิปัญญาเข้าสู่ห้องเรียนของนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 เป็นการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ซึ่งผลการเก็บข้อมูลทักษะการวิเคราะห์ในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ครั้งที่ 1 พบว่านักศึกษามีทักษะในการสืบค้นข้อมูลอ้างอิงเพียงแหล่งเดียว และรูปแบบการอ้างอิงไม่ถูกต้อง ส่วนในครั้งที่ 2 นักศึกษามีการค้นคว้าข้อมูลและประเมินความน่าเชื่อถือ พบว่ามีจำนวนแหล่งอ้างอิงเพิ่มขึ้นและแหล่งอ้างอิงถูกต้อง รวมถึงนักศึกษามีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมากกว่า 1 แหล่ง และสามารถให้เหตุผลประกอบความน่าเชื่อถือได้
          การพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษาปีที่ 2 มีการจัดกิจกรรมจำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 อาจารย์ผู้สอนให้คำแนะนำในการตั้งโจทย์โดยไม่ลงลึกรายละเอียด และครั้งที่ 2 อาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำอย่างละเอียด พบว่ากิจกรรมครั้งที่ 1 นักศึกษาทำได้ไม่ครอบคลุมโจทย์การวิจัยเนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญกับบริบทที่เกี่ยวข้อง แต่กิจกรรมครั้งที่ 2 และกิจกรรมครั้งที่ 3 นักศึกษาทำได้ดีขึ้น เพราะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะการตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีการจัดกิจกรรมจำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 อาจารย์ผู้สอนให้คำแนะนำในการตั้งโจทย์โดยไม่ลงลึกรายละเอียด และครั้งที่ 2 อาจารย์ได้ให้คำแนะนำอย่างละเอียด พบว่ากิจกรรมครั้งที่ 1 นักศึกษาทำได้ไม่ครอบคลุมโจทย์การวิจัย เนื่องจากไม่ได้ให้ความสำคัญกับบริบทที่เกี่ยวข้อง แต่กิจกรรมครั้งที่ 2 และกิจกรรมครั้งที่ 3 นักศึกษาทำได้ดีขึ้น เพราะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
          การดำเนินการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยนำโจทย์ในระดับ Key Question มาลงพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาการปลูกข้าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการบูรณาการการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนได้เรียนรู้วิธีตั้งโจทย์วิจัยและได้เรียนรู้กระบวนการทำนาร่วมกัน เพื่อนำไปสู่แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ขึ้นเตรียมการก่อนการปลูกข้าว ขั้นตอนการปลูกข้าว และขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU