 |
|
 |
|
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย |
ศึกษาการปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย |
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ |
The Development of Mushroom Strain,Cultural Techniques for Reducing Cost,High Yield and Safety Food. |
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ | ผศ. มานี เตื้อสกุล | ผู้ร่วมวิจัย | ผศ.ดร. ภวิกา บุณยพิพัฒน์ | ผู้ร่วมวิจัย | ผศ. ณิศา มาชู | ผู้ร่วมวิจัย | นาย พินิจ ดำรงเลาหพันธ์ | ผู้ร่วมวิจัย | ผศ. จิรพงศ์ สุขจันทร์ | ผู้ร่วมวิจัย | นางสาว กมลทิพย์ นิคมรัตน์ |
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย |
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
สาขาการวิจัย |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
ปีงบประมาณ |
2551 |
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย |
1 ปี |
งบประมาณ |
800,000 บาท |
พื้นที่ทำการวิจัย |
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา |
ผู้ประสานงานในพื้นที่ |
ไม่ระบุ |
สถานะของผู้ประสานงาน |
ไม่ระบุ |
ประเภทงานวิจัย |
เดี่ยว |
สถานะงานวิจัย |
ดำเนินการเสร็จสิ้น |
คำสำคัญ |
การปรับปรุงพัธุ์เห็ดขอนขาว,การใช้สารโคลชิซิน |
บทคัดย่อ |
การศึกษาปรับปรุงพันธุ์เห็ดและพัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการเพาะเห็ด ปัญหา และแก้ปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดสงขลาและใกล้เคียง พัฒนาการผลิตโดยจัดสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม ปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว(Lentinus squarrosulus) โดยใช้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้นและเวลาในการใช้สารแตกต่างกัน ศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดและนำก้อนเห็ดที่หมดอายุมาใช้เพาะเลี้ยงไรแดงเป็นอาหารสัตว์น้ำ ผลปรากฏดังนี้
เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฐานดำและนางรมฮังการี่ ดรงเรือนอยู่ในสวนยางพารา ใต้ต้นไม้และที่โล่งแจ้ง ปัญหาได้แก่ โรคจากเชื้อรา ราเขียว ราดำ แมลงต่างๆ และหนูแก้ปัญหาโดยใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหนู และเชื้อไมโตฟากัส ได้แยกเชื้อจากเห็ดพบเชื้อ 4 สกุล ได้แก่ Trichoderma ap. Aspergillus มี 2 species คือ Aspergillus niger และ Aspergillus flavus Penicilium sp. Neurospora sp. พบสาร carbaryl จำนวนหนึ่ง 1 แห่ง และพบสารฟอร์มาลิน จำนวน 2 แห่ง การปรับปรุงพันธุ์เห็ดขอนขาว โดยการใช้สารโคลชิซินที่มีความเข้มข้น 0.0 , 0.1 , 0.3 , 0.5 เปอร์เซ็นต์ นาน 1 , 5 , 10 , และ 15 นาที พบว่าเห็ดที่ได้รับสารโคลชิซินมีจำนวนนิวเคลียสหลายนิวเคลียส สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักดอกเห็ด 119.16 กรัม/ก้อน สูงกว่า เห็ดที่ไม่ได้รับคุณค่าทางอาหาร โปรตีน ไขมัน เถ้า และเส้นใยไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนแคลเซียมของเห็ดที่ได้รับสารทีค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่ไม่ได้รับสาร ได้ออกแบบโรงเรือนและเพาะเห็ดพบว่าสามารถเพาะเห็ดได้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูง เห็ดสะอาด สด ลดการทำลายจากแมลง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเห็ดพบว่าผู้บริโภคให้ความสนใจแหนมเห็ด เห็ดปรุงรส และเห็ดอบเนย และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดจำนวน 2 ชนิด คือ แหนมและเห็ดนางฟ้าปรุงรส ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีปริมาณโปรตีนสูง และมีไขมันน้อย ก้อนเห็ดที่หมดอายุสามารถนำมาเพาะเลี้ยงไรแดงได้ผลดี
จาการศึกษาสามารถเพาะเห็ดได้ผลผลิตสูง และปลอดภัยต่อการบริโภค |
Fulltext |
ไม่มีไฟล์ |
จำนวนการอ่าน |
|
|
Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU
|
|
|
|