ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย บูรณาการแนวทางอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองท้องถิ่นภาคใต้ แถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ศึกษาเฉพาะกรณีหนังตะลุง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The integration of a conservative and continuously’s folkway southern culture of Songkhla Lake Basin : The Case of Shadow Puppet

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว มาริสา จันทร์ฉาย
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว สุจิรา วิจิตร
ผู้ร่วมวิจัยดร. นฤภร ไชยสุขทักษิณ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว อรทัย ไพยรัตน์
ผู้ร่วมวิจัยนาง ณัฏิยา ชูถึง พรหมจันทร์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 5 ปี
งบประมาณ 221,817 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ หนังตะลุง, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
บทคัดย่อ           การศึกษาเรื่องบูรณาการแนวทางอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองท้องถิ่นภาคใต้ แถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ศึกษากรณีหนังตะลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านท้องถิ่นภาคใต้ และเพื่อสร้างแนวทางบูรณาการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำการศึกษาพื้นที่เขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          แนวทางการอรุรักษ์สืบทอดหนังตะลุง 1) ใช้หลัก “บวร” ในการดำเนินอนุรักษ์หนังตะลุง โดยใช้โรงเรียนร่วมกับครูภูมิปัญญาในชุมชนนำความรู้ที่เกี่ยวกับหนังตะลุงมาถ่ายทอดสู่เด็ก และใช้วัดเป็นพื้นที่ทำการเผยแพร่ 2) จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องภาษาถิ่นใต้ 3) ให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการอนุรักษ์ 4) ปรับรูปแบบของหนังตะลุงให้เป็นที่น่าสนใจโดยใช้ตัวการ์ตูนและการให้ของรางวัล/ของที่ระลึกสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาชมการแสดงหนังตะลุง 5) การจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหนังตะลุงให้ปรากฏเป็นรูปธรรม เพื่อใช้ในการเผยแพร่ 6) นำงบประมาณจากภาครัฐ/เอกชนมาใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์หนังตะลุง 7) การนำรูปหนังตะลุงมาใช้เป็นสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน 8) ใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ในการเผยแพร่เรื่องราวหนังตะลุงอย่างต่อเนื่อง
          แนวทางบูรณาการอนุรักษ์และสืบทอดหนังตะลุงนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนในสังคมอย่างต่อเนื่องและมีความสม่ำเสมอ เป็นการบูรณาการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาควิชาการ/สถาบันการศึกษา ท้องถิ่น และชุมชนในการอนุรักษ์และสืบทอดหนังตะลุง และจากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำมาสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การอนุรักษ์หนังตะลุง ซึ่งประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด และส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม 2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างเอกลักษณ์และปลูกฝังสำนึกรักและความภาคภูมิใจของศิลปวัฒนธรรม
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU