หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ผลกระทบจากการค้าเสรีในประชาคมอาเซียนต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง จังหวัดสงขลา ประเทศไทย และ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The effects of the trade liberalization in the ASEAN community on Small and Medium Enterprises (SMEs)s production costs: the comparative analysis between Songkla, Thailand and Kedah, Malaysia
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร. คมวิทย์ ศิริธร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
57,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การค้าชายแดน, อาหารฮาลาล, การค้าเสรี
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดต้นทุนการผลิตสินค้าโดยเฉพาะต้นทุนเฉลี่ยต่อแรงงาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยดังกล่าวระหว่างผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ภายใต้การค้าเสรีในประชาคมอาเซียนด้วยเทคนิคMultiple regression analysisและ t-testโดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ SMEs อาหารฮาลาลประเภทไก่ในพื้นที่ทั้งสองจำนวน 240 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนการผลิตสินค้าอาหารฮาลาลประเภทไก่ของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาต่ำกว่าของผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์อย่างมีนัยสำคัญ เป็นผลมาจากต้นทุนผันแปรในไทยที่ต่ำกว่า แต่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์กลับสูงกว่าของสงขลาประมาณกว่า 3 เท่า ปัจจัยความเสรีทางการค้าจากการกำจัดกำแพงภาษีไม่ส่งผลต่อต้นทุนเฉลี่ยต่อแรงงานของผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่ม แต่ปัจจัยความเสรีทางการค้าจากการกำจัดข้อกีดกันที่มิใช่ภาษีกลับมีผลต่อต้นทุนเฉลี่ยต่อแรงงานในรัฐเคดาห์ ผลการศึกษายังพบว่าเมื่อสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นกลางไปกลุ่มประเทศนอกอาเซียนของผู้ประกอบการในสงขลาสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อแรงงานปรับสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์จะมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อแรงงานสูงขึ้นเมื่อมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายไปกลุ่มประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการในสงขลามุ่งเน้นการผลิตสินค้าขั้นกลางและมีตลาดส่งออกเป็นตลาดนอกกลุ่มอาเซียนจึงอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนเท่าที่ควร ต่างจากผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์ที่ผลิตสินค้าทั้งขั้นกลางและขั้นสุดท้ายโดยเน้นส่งออกประเทศในอาเซียน จึงได้ประโยชน์จากการกำจัดข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีสูงกว่าผู้ประกอบการในสงขลา ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดสงขลาจึงควรขยายฐานลูกค้าเป็นทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน รักษาความได้เปรียบด้านค่าใช้จ่ายแรงงานและค่าวัตถุดิบที่ต่ำกว่า พร้อมอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านเครื่องจักรการผลิตซึ่งเป็นต้นทุนคงที่ให้ต่ำลงเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากลักษณะของการใช้แรงงานเป็นหลักเป็นการใช้เครื่องจักรเพิ่มขึ้น เพื่อแข่งขันกับผู้ค้าต่างประเทศในอนาคตได้
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU