ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Knowledge, Attitude and Working behavior affected on working Performance of Child care Centers employees in Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. นัยนา ยีหมะ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว นิศารัตน์ บุญมี
ผู้ร่วมวิจัยผศ. ภักดิ์ศานณัฏฐ์ หอยสกุล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ความรู้, เจตคติ, พฤติกรรม, การประกันคุณภาพการศึกษา
บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติและพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลวิจัยพบว่า
              1.   บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.39 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  1.17 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
              2.   มีเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35
              3.   มีพฤติกรรมการทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54
                   4.1      ความแตกต่างด้านความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน
                   4.2      ความแตกต่างด้านเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน มีเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน        แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน เจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
                   4.3      ความแตกต่างด้านพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่ประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน พฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาต่างกันอย่าง        มีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU