ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การพัฒนารูปแบบลวดลายกระบวนการผลิตผ้าบาติกในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา : แหล่งผลิตชุมชนวังเขียว-วังขาว ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The improvement of Batik design in Songkhla province : the study of source of production at Wangkaew-Wangkhaw village,Tambon Bo-Yang,Moung District,Songkhla Povince
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ ผศ. ศุภฤกษ์ ทองประยูร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ปีงบประมาณ
2550
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ผ้าบาติก,ลายดอกชบา,ลายนางเงือก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะพัฒนารูปแบบลวดลายกระบวนการผลิตผ้าบาติกในจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะแหล่งผลิตชุมชนวังเขียว-วังขาว ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ให้มีรูปแบบลวดลาย สามารถนำทฤษฎีการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ในการจัดว่างลวดลายได้อย่างเหมาะสม ผลผลิตได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าบาติก (มผช.) ที่มีคุณภาพและมูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นการวิจัยประยุกต์เน้นกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัยและกลุ่มผู้ผลิตผ้าบาติกของชุมชน โดยมีผลการวิจัยหลังการพัฒนาดังนี้
ผลการศึกษาและคัดสรรรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม พบว่ารูปแบบลวดลายที่กลุ่มผู้ผลิตต้องการพัฒนาเป็นต้นแบบและเอกลักษณ์ของกลุ่ม คือรูปแบบลวดลายจากความเชื่อที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลาคือรูปแบบลวดลายนางเงือก และรูปแบบลวดลายจากธรรมชาติคือรูปแบบลวดลายดอกชบา โดยกลุ่มผู้ผลิตมีแนวคิดที่จะนำเอาเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์อื่นที่คนทั่วไปรู้จักในนามของจังหวัดสงขลาหรือความเป็นภาคใต้ มาผสมผสานกับรูปแบบเดิมพัฒนาาเป็นรูปแบบลวดลายใหม่ ได้ลีลาท่าทางของนางเงือกที่แตกต่างกัน ส่วนรูปแบบลวดลายดอกชบามีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนรูปแบบลักษณะของดอกใหม่ให้ใกล้เคียงและมีความรู้สึกเหมือนจริงตามธรรมชาติมากกว่าเดิม โดยการศึกษาถึงลักษณะของดอกแบบต่างๆ ทั้งดอกตูมและดอกบานที่เป็นจริงตามธรรมชาติ แล้วนำมาประกอบและจัดเรียงใหม่เป็นช่อดอกที่มีดอกตูมและดอกบานอยู่บนก้านและใบตามลำดับ ได้ลีลาและความรู้สึกที่แตกต่างกัน เป็นต้นแบบในการผลิตของกลุ่มต่อไป
ผลการพัฒนาและสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชน พบว่าสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตมีความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มเติมในเรื่องของวิธีการ กระบวนการตลอดจนเทคนิคการออกแบบรูปแบบลวดลายหลังจากฟังการบรรยายและฝึกปฏิบัติการจริง เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเชื่อมั่นของกลุ่มสามารถสร้างตนแบบรูปแบบลวดลายที่เป็นของกลุ่มได้ ส่วนการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบลวดลายผ้าบาติกของชุมชนที่เป็นต้นแบบใหม่ พบว่าโดยภาพรวมรูปแบบลวดลายต้นแบบทั้ง 10 รูปแบบมีระดับความเหมาะสมและน่าสนใจอยู่ในระดับมาก โดยเรียงชื่อผลงานตามลำดับได้ดังนี้ รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัดสงขลา 2 , รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัดสงขลา 3 , รูปแบบลวดลายดอกชบา 1 , รูปแบบลวดลายดอกชบา 2, รูปแบบลวดลายมโนราห์ , รูปแบบลวดลายพญานาค , รูปแบบลวดลายสัญลักษณ์จังหวัดสงขลา 1 , รูปแบบลวดลายการ์ตูน , รูปแบบลวดลายเด็กไทย และรูปแบบลวดลายปลาทะเล
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนางานผ้าบาติกในเรื่องของการออกแบบรูปแบบลวดลาย กระบวนการผลิตที่หลากหลายตามแหล่งผลิตของภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย เพื่อการพัฒนากระบวนการตลอดจนเทคนิคต่างๆแก่ชุมชน ส่งเสริมและกำหนดให้มีแหล่งเรียนรู้เรื่องผ้าบาติกจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยการรวบรวมผลงานที่ชัดเจนและถูกต้องเด่นชัดไว้ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดสถาบันการศึกษาหรือสถานที่ราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อการศึกษาค้นคว้า และมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ผลงาน สนับสนุนงานด้านการตลาด จัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการกลุ่มการผลิตเพื่อสร้างเครือข่ายนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงและยั่งยืนต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU