หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีใน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Factors Affected the Decision for Cervical Cancer Screening among Women in Singhanakhon District, Songkhla Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. เทพกร พิทยาภินันท์
ผู้ร่วมวิจัย
นาง ฤดีดาว ช่างสาน
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ชิงโค อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, อำเภอสิงหนคร, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพล กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านการรับรู้ ปัจจัยด้านอิทธิพล ระหว่างสตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีจำนวน 429 คน ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 88 คน และสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 341 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามจำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายในแต่ละสถานบริการสาธารณสุข ในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน เพื่อสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น
=
0.8681และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติChi-Square เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติt-test
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล สถานภาพสมรส รายได้ อายุขณะมีบุตรคนแรก การเจ็บป่วยของญาติ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปัจจัยด้านการรับรู้ และปัจจัยด้านอิทธิพลไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ส่วนผล การเปรียบเทียบปัจจัยการรับรู้ อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลของสถานการณ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่าสตรีที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีปัจจัยการรับรู้ ปัจจัยอิทธิพลระหว่างบุคคล และปัจจัยอิทธิพลของสถานการณ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้งนี้มีปัจจัยการรับรู้ และปัจจัยอิทธิพลระหว่างบุคคลมีความแตกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม พบว่า สตรีส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่น่ากลัว รวมถึงวิธีการตรวจของโรคนี้ยังทำให้โรคนี้มีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เหตุผลจูงใจที่ทำให้สตรีเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การรับรู้อันตรายของโรค และอาการแสดงของโรค ส่วนเหตุผลของสตรีที่ไม่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ ความอาย และกังวลว่าเจ้าหน้าที่ใกล้ชิดจะเป็นคนตรวจ นอกจากนี้วิธีการให้ข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การอบรมให้ความรู้และนำเสนอภาพอาการแสดงของโรคให้มากเพื่อให้ได้รู้ถึงความอันตรายของโรค
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU