หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและแนวทางในการอนุรักษ์พันธุกรรมของสาหร่ายในพื้นที่ชุ่มน้ำ บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. มานี เตื้อสกุล
ผู้ร่วมวิจัย
นาง สุเพ็ญ ด้วงทอง
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. ณิศา มาชู
ผู้ร่วมวิจัย
รศ. นฤมล อัศวเกศมณี
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. เชาวนีพร ชีพประสพ
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว วาสนา มู่สา
ผู้ร่วมวิจัย
นาง พรรณี ไชยโย
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว วรลักษณ์ จันทร์ศรีบุตร
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. สุชีวรรณ ยอยรู้รอบ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
สาหร่าย, พันธุกรรม, ชีวภาพ, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ-เคมี และด้านชีวภาพ 2) ความหลากหลายทางชีวภาพ สัณฐานวิทยา อนุกรมวิทยา นิเวศวิทยาบางประการเปรียบเทียบการกระจายของสาหร่าย 3) ค้นหาภูมิปัญญาของท้องถิ่นเกี่ยวกับสาหร่ายที่ทีคุณค่า 4) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์สารอัลจิเนตในสาหร่าย 2 ชนิด 5) ทดลองเพาะเลี้ยงสาหร่ายบางชนิด และ 6) กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์พันธุกรรมของสาหร่าย
วิธีการศึกษา ทำการศึกาาบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร กำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำและสาหร่าย 30 จุด อำเภอละ 15 จุด ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2548 โดยลงพื้นที่ศึกษาสภาพระบบนิเวศ เก็บตัวอย่างน้ำและสาหร่ายมาวิเคราะห์ โโยใช้เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ วัดความโปร่งแสงใช้เครื่องวัดความโปร่งแสง อุณหภูมิแบะ pH ใช้ pH Meter ค่า DO BOD ฟอสเฟต และแอมโมเนียใช้ APHA 1992 คลอโรฟิลด์เอใช้ Holm and Kiemann 1978 ศึกษาสาหร่ายใช้กล้องจุลทรรศน์พร้อมกล้องถ่ายรูป ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์สารอัลจิเนตโดยวิธีดัดแปลงจาก Mchugh 1987 กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์พันธุกรรมสาหร่ายโดยร่วมกับครู นักเรียน โรงเรียนสทิงพระวิทยา
ผลการศึกษาเป็นดังนี้
1. สภาพทั่วไปของแหล่งน้ำทั้ง 2 อำเภอที่ทำการศึกษา เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำขังเกือบตลอดปี มีสภาพเป็นสระ คลองขุด คลองธรรมชาติ ท่อระบายน้ำ และอ่างเก็บน้ำ คุณภาพของน้ำ พบว่าแหล่งน้ำส่วนใหญ่มีน้ำขังตลอดทั้งปี ความโปร่งใสที่แสงส่องถึง อยู่ระหว่าง 0.01 เมตร ถึง 1.48 เมตร อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 26.9 ถึง 35.6 องศาเซลเซียส ค่าความเป้นกรด-ด่าง ระหว่าง 6.45 ถึง 9.59 ค่า DO ระหว่าง 1.00 ถึง 10.10 มิลลิกรัม/ลิตร ค่า BOD ระหว่าง 1.00 ถึง 135.00 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าฟอสเฟตระหว่าง 0.09 ถึง 0.90 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าแอมโมเนียอยู่ระหว่าง 22.40 ถึง 179.20 มิลลิกรัม/ลิตร และคลอโรฟิลด์เออยู่ระหว่าง 0.059 ถึง 1.480 ไมโครกรัม/ลิตร
2. ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายที่พบทั้ง 2 อำเภอ มีทั้งหมด 143 ชนิด แยกออกเป็น Division ได้แก่ Cyanphyta 24 ชนิด Chlorophyta 62 ชนิด Chrysophyta 26 ชนิด Euglenophyta 21 ชนิด Pyrrophyta 8 ชนิด และ Cryptophyta 2 ชนิด แยกออกเป็นอำเภอได้ดังนี้ ในอำเภอสทิงพระพบทั้งหมด 6 Division ได้แก่ Cyanophyta 16 ชนิด Chlorophyta 37 ชนิด Chrysophyta 17 ชนิด Euglennophyta 11 ชนิด Pyrrophyta 4 ชนิด Cryptophyta 2 ชนิด รวม 87 ชนิด อำเภอสิงหนครพบ 6 Division ได้แก่ Cyanophyta 22 ชนิด Chlorophyta 60 ชนิด Chrysophyta 20 ชนิด Euglennophyta 16 ชนิด Pyrrophyta 7 ชนิด Cryptophyta 2 ชนิด รวม 127 จำนวน สาหร่ายที่พบเกือบทุกจุดมี 11 ชนิด ที่พบเฉพาะบางจุดมี 58 ชนิด
3. ความรู้ของชุมชนเกี่ยวกับสาหร่าย พบว่าชุมชนส่วนใหญ่รู้จักสาหร่ายเพียงบางชนิดได้แก่ Microspora sp. ชุมชนเรียกว่า "สาย" นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์
4. จากการวิเคราะห์สารอัลจิเนตในสาหร่าย 2 ชนิด พบว่าใน Enteromorpha sp. มีสารอัลจีเนต ส่วนใน Microspora sp. ไม่พบสารดังกล่าว
5. สาหร่ายที่แยกและนำมาเพาะเลี้ยงและเจริญเติบโตได้ดี ได้แก่ Selenastrum sp. และ Chlorella sp.
6. แนวทางในการอนุรักษ์พันธุกรรมของสาหร่ายได้กระทำร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โรงเรียนสทิงพระวิทยา ครู นักเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานราชการ ร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำในคลองอาทิตย์ และพังในโรงเรียนสทิงพระวิทยา จังหวัดสงขลา
ผลกระทบ จากการศึกษาชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสาหร่ายกับคุณภาพของแหล่งน้ำ ได้มีการเฝ้าระวังแหล่งน้ำในชุมชน
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU