ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การคัดเลือกและสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญและผลิตสารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพ จากเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Screening and optimization of cultural conditions for bioemulsifier production from isolated bacteria

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ปวีณา ดิกิจ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ แบคทีเรีย, สถาวะที่เหมาะสม, สารอิมัลซิไฟด์เออร์
บทคัดย่อ           สารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพมีศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยา เครื่องสำอาง และการควบคุมจุลินทรีย์ทางชีวภาพ (biocontrol) เพื่อทดแทนสาร อิมัลซิไฟด์เออร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี โดยสารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพมีข้อดีกว่าสาร อิมัลซิไฟด์เออร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี คือ ย่อยสลายได้ มีความเป็นพิษต่ำ และมีความคงตัวในสภาวะอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและเกลือความเข้มข้นสูงๆ ได้ (Banat et al., 2000) เนื่องจากจุลินทรีย์สามารถผลิตสาร อิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพได้หลากหลายชนิดและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันโดยจุลินทรีย์แต่ละชนิดต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในกิจกรรมต่างๆ และใช้ผลิตสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตสารประกอบที่เซลล์ต้องการในการเจริญและสารที่จำเป็นอนๆ รวมทั้งสารอิมัลิซไฟด์เออร์ชีวภาพ อาหารเลี้ยงเชื้อสวนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งคาร์บอน ไนโตรเจนและแร่ธาตุ นอกจากสูตรอาหารที่เหมาะสมแล้วยังมี สภาวะอื่นๆ อีกที่มีผลต่อการเจริญและการผลิตสารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพ เช่น พีเอช อุณหภูมิ การกวนและการให้อากาศ เป็นตน ซึ่งแบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่สามารถควบคมสภาวะในการเลี้ยงได้ง่ายและสามารถใช้แหล่งอาหารที่มีราคาถูกหรือวัสดุเศษเหลือในการเจริญและผลิตสารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพได้  ทำให้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพหรือให้สารอิมัลซิไฟด์เออร์ชีวภาพที่มีคุณสมบัติเฉพาะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสารอิมัลซิไฟด์เออร์ให้สูงขึ้นและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต
 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU