ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Cultural Adaptation That Affect to Sense of Coherence of the Muslim Bachelor Student in Songkhla Rajabhat University

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. ไหมไทย ไชยพันธ์ุ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ นักศึกษามุสลิม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, ความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต
บทคัดย่อ           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางวัฒนธรรมกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมสามารถทำนายแนวโน้มความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามุสลิมที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาจำนวน 305คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ โดยแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน
          ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษามีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกสอดคล้อง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.16 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการปฏิบัติศาสนกิจ การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการบริโภคอาหาร และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .14, .20, .13 และ .34 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.09 และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการทักทายและการทำความเคารพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .06 ตัวพยากรณ์ที่ดีที่สามารถทำนายความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คือ ตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอด และตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอด มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ .26 การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษา มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ -.06
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU