หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
แนวทางการพัฒนาด่านชายแดนสะเดา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Development Approach of Sadoa Border
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ชายแดนสะเดา, สงขลา
บทคัดย่อ
ด่านชายแดนสะเดาเป็นด่านชายแดนที่สำคัญที่มูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดของประเทศ การศึกษาถึงสภาพปัญหา อุปสรรค และโอกาสในการเข้าสู่ระบบ National Single Window (NSW) จึงเป็นประเด็นที่สำ คัญและจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง วัตถุประสงค์การวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญและบทบาทของด่านชายแดนสะเดา (2) เพื่อวิเคราะห์ SWOT ด่านชายแดนสะเดาในเข้าสู่ระบบ NSW และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบ NSW ของด่านชายแดนสะเดา โดยทำการศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อเข้าสู่ระบบ NSW ของด่านชายแดนสะเดา ด้วยระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ NSW ของด่านชายแดนสะเดา ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาตรการด้านศุลกากร กระบวนการศุลกากร ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับด่านชายแดนสะเดา ขีดความสามารถในการแข่งขัน ระบบ NSW และเนื่องจากเป้าหมายของการวิจัยมุ่งพัฒนา ผู้วิจัยจึงได้ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT และการวิจัยเชิงพัฒนา ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการให้บริการและพิธีการศุลกากร
ผลการศึกษาจำแนกตามวัตถุประสงค์ เป็นดังนี้ (1) ความสำคัญและบทบาทของด่านชายแดนสะเดา พบว่า ด่านชายแดนสะเดามีความสำคัญและบทบาทต่อเศรษฐกิจชายแดนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นด่านที่มีมูลค่าการค้าข้ามแดนมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบร้อยละ 60ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด และมีมูลค่านำเข้าสูงถึง 192.7พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 83.8ของมูลค่าการส่งออกรวมของด่านชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (2) ผลการวิเคราะห์ SWOT ของด่านชายแดนสะเดาในการเข้าสู่ระบบ NSW พบว่า ด่านชายแดนสะเดาค่อนข้างมีศักยภาพในการเข้าสู่ระบบ NSW เนื่องจากมีจุดแข็งในเรื่องของบุคลากร งบประมาณ และด้านกายภาพ มีโอกาสในเรื่องของกรอบความร่วมมือต่าง ๆ งบประมาณสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบ แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องของกระบวนการในการใช้ระบบ ข้อกฎหมายที่ยังไม่เอื้อต่อการใช้ระบบ และจุดอ่อนในการกำหนดผู้รับผิดชอบหลักไม่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการ และ (3) แนวทางในการพัฒนาด่านชายแดนสะเดาสำหรับรองรับระบบ NSW เพื่อการเป็น ประตูสู่อาเซียน ในครั้งนี้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา 4ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1การพัฒนาระบบ NSW เชิงบูรณาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ให้เพียงพอและได้มาตรฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงพัฒนาข้อกฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน ให้เอื้อต่อการดำเนินการและมีความทันสมัยทันต่อการเปลี่ยนแปลง และยุทธศาสตร์ที่ 4การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ผู้บริหารด่านชายแดนสะเดาและด่านชายแดนอื่น ๆ ควรนำยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และมาตรการต่าง ๆ เป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในอนาคต (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ NSW ควรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนาระบบ NSW และ (3) สถาบันการศึกษาควรนำข้อมูลและผลการศึกษาไปใช้ประกอบการเรียนการสอน
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU