หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การออกแบบผลิตภัณฑ์ทำเฟอร์นิเจอร์จากต้นตาล กลุ่มโหนดทิ้ง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Product design of furniture Palmyra wood Nodting Grop Sathing Phra District, Songkhla Province.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย ธัชพล ภัทรจริยา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ต้นตาล, เฟอร์นิเจอร์, การออกแบบผลิตภัณฑ์
บทคัดย่อ
งานวิจัยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากต้นตาลกลุ่มโหนดทิ้ง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นโครงการวิจัยเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับชุมชนให้มีรายนอกเหนือจากจากการทำผลิตภัณฑ์จากใยตาลและการเก็บน้ำตาลขาย การทำเฟอร์นิเจอร์แบบโบราณมีความซับซ้อน ต้องใช้ฝีมือของช่างไม้ ซึ่งในที่นี้คือช่างชาวบ้าน ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเชิงช่างที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่น
การออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากต้นตาลเป็นการออกแบบที่ผสมผสานความเป็นร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์นักวิจัยได้ทำการออกแบบให้ดูเป็นร่วมสมัยแต่แฝงไว้ด้วยความประณีตของช่างพื้นบ้านที่ยังคงความเป็นวิถีพื้นบ้านไว้ ไม้ตาลเป็นไม้พื้นถิ่นของภาคใต้ ซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นตาลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น และตัวไม้เองก็มีเสน่ห์ที่ไม้อื่นไม่เหมือนใคร ทั้งเรื่องสี และเรื่อง ความคงทน แต่ไม้ตาลมีข้อจำกัดในการสร้างสรรค์งานเนื่องจากเป็นไม้ที่ไม่มีแกนกลางที่สามารถใช้ได้ ต้องใช้บริเวณรอบลำต้น จึงทำให้เนื้อไม้ที่แข็งมีจำนวนหน้ากว้างที่น้อย จึงไม่สามารถทำงานที่เป็นชิ้นเดียวได้ต้องต่อกันเป็นชิ้น
ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากไม้ตาลครั้งนี้ผลที่ได้คือผลงานที่ช่างได้แสดงถึงความชำนาญในการสร้างสรรค์งานและนักวิจัยได้ททราบถึงปัญหาของไม้ตาลและการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ตาลและแก้ไขจุดด้อย เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น อีกทั้งปลูกฝังให้ชาวบ้านรู้จักการอนุรักษ์วิถีชาวบ้านแบบพื้นถิ่นไว้เพราะว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัย ทำให้ความงามและเชิงช่างในการสร้างงานได้ลดน้อยลง
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU