ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย โครงการ ความหลากหลายและความชุกชุมของมดในป่าเสม็ด
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Diversity and Abundance of Ants in Melaleuca Forest

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. คทาวุธ ไชยเทพ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 120,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ มด, ป่าเสม็ด, ความหลากหลายของชนิด
บทคัดย่อ           การศึกษาความหลากหลายและความชุกชุมของมดในป่าเสม็ด จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาความหลากหลายและความชุกชุมของมด รวมถึงความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการ ระหวางเดือนสิงหาคม ถึง กันยายนและระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557โดยใช้ 4วิธี ได้แก่ การใช้ตะแกรงร่อนซากใบไม้ การจับด้วยมือ การใช้เหยื่อน้ำหวาน และการใช้กับดักหลุม พบมดรวมทั้งหมด 3,219ตัว จาก 12ชนิด 10สกุล 5วงศ์ย่อย มดในวงศ์ย่อย Formicinae มากที่สุด ถึง 6ชนิด รองลงมาคือ Myrmicinae 3ชนิด และน้อยที่สุด ได้แก่  Ponereinae 1ชนิด Pseudomyrmecinae 1ชนิด และ Dolichoderinae 1ชนิด ซึ่งแต่ละวิธีพบชนิดและจำนวนมดแตกต่างกัน ทั้งนี้มีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดมด (Shannon-Weiner index) ระหว่าง 1.85-2 สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างมดกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการ โดยใช้ Spearman rank correlation พบว่า มดในวงศ์ย่อย Myrmicinae ชนิด Meranoplus castaneus (F.Smith) มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับอุณหภูมอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.608, p<0.01) ส่วนมดชนิด Monomorium sp. กลับมีความสัมพันธ์ ในเชิงบวกกับอุณหภูมิอากาศ (r=0.491, p<0.05) และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอุณหภูมิของดิน (r=0.447, p<0.05) 
 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU