หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
บทเพลงรองเง็ง : กรณีศึกษา นายเซ็ง อาบู
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
A Case study of Rong Ngang Songs of Mr.Seng Arboo.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. วิชัย มีศรี
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ดนตรีพื้นบ้าน, ศิลปะการแสดง, รองเง็ง
บทคัดย่อ
จากการศึกษาพบว่านายเซ็ง อาบูเป็นศิลปินพื้นบ้านรองเง็งอดีตเคยเป็นสมาชิกในวงดนตรีพื้นบ้านรองเง็งเด็นดังอัสลีและอีรามาอัสลีโดยมีนายขาเดร์แวเด็งศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) เป็นหัวหน้าคณะ โดยหลังจากนั้นจึงแยกตัวออกมาจากคณะอีรามาอัสลีตลอดระยะเวลากว่า 40ปี ของการเป็นศิลปินดนตรีพื้นบ้านรองเง็ง นายเซ็ง อาบู มีผลงานการแสดงดนตรีพื้นบ้านรองเง็งต่อสาธารณชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมากมาย ทั้งเคยได้รับรางวัลเกียรติคุณพระราชทานซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลด้านผลงานมีผลงานการบันทึกเสียง การออกแบบและเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงให้กับสถานศึกษาต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นผู้ถ่ายทอดและสืบทอดดนตรีพื้นบ้านรองเง็งให้ศิลปินพื้นบ้านรุ่นใหม่ เช่น วงดนตรีรองเง็งคณะอัสลีมาลาคณะบุหลันตานีรวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ
ด้านภูมิปัญญา นายเซ็ง อาบู เป็นศิลปินพื้นบ้านที่สามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้หลายชนิดทั้งเครื่องดนตรีสากลและเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ กีตาร์ แมนโดลิน ไวโอลิน รำมะนา และฆ้องบทเพลงรองเง็งจำนวนมากเกิดจากการจดจำมาจากการหมุนแผ่นเสียง และการฟังบทเพลงประกอบละครของประเทศมาเลเซียที่เคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมบทเพลงรองเง็งที่ได้จากนายเซ็งอาบูเป็นจำนวน50เพลง ได้ทำการถอดโน้ต(Transcription)และบันทึกโน้ตเพลง โดยแยกออกเป็น5จังหวะ ดังนี้ บทเพลงในจังหวะโยเก็ต จำนวน 15เพลง บทเพลงในจังหวะอินัง จำนวน 15เพลงบทเพลงในจังหวะรุมบ้า 5 เพลงบทเพลงในจังหวะซัมเป็งจำนวน 10เพลงและบทเพลงในจังหวะอัสลีจำนวน 5เพลง
ผลการวิเคราะห์บทเพลงรองเง็ง จำนวน 5เพลง ใน 5 ลีลาจังหวะ พบว่ามีทั้งเพลงเร็วและเพลงช้า โดยเพลงเร็วจะบรรเลงด้วยลีลาจังหวะโยเก็ตจังหวะอินัง และจังหวะรุมบ้า ส่วนเพลงช้าจะบรรเลงด้วยลีลาจังหวะซำเป็ง และจังหวะอัสลี บันไดเสียงส่วนใหญ่ที่ใช้ คือ บันไดเสียงเมเจอร์ (Major) เช่น G major D major และ Amajor บันไดเสียงไมเนอร์(Minor) เช่น G minor เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มบันไดเสียงที่สะดวกต่อการบรรเลงของกลุ่มเครื่องดนตรีที่สร้างทำนอง นอกจากนี้ ทำนองหลักมีช่วงพิสัยเสียงไม่เกินขั้นคู่ 11 เพอร์เฟค ซึ่งถือเป็นช่วงเสียงที่เหมาะสำหรับการประพันธ์เพลงทั่วไป
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU