ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นห้องสมุดมีชีวิต
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย สมบูรณ์ คงกับพันธ์
ผู้ร่วมวิจัยผศ. ไพบูลย์ ตรีน้อยวา
ผู้ร่วมวิจัยนาย จตุรงค์ แวงนอก
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว วงศ์แข ภัทรนิตย์
ผู้ร่วมวิจัยนาง สุมา ทิพย์ธารา
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว อุษณีย์ ภักดีตระกุลวงศ์
ผู้ร่วมวิจัยนาง เอื้อนจิตร สัมมา

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ปีงบประมาณ 2547
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ห้องสมุด, วิทยบริการ, การพัฒนา, การบริหารจัดการ
บทคัดย่อ        การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศูนย์วิทยบริการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  เป็นห้องสมุดมีชีวิต  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาข้อมูลสภาพปัญหาการบริหารจัดการ  การให้บริการ  และความพึงพอใจในการใช้บริการ  เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตตามความต้องการของผู้ใช้บริการ  และเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน  และความพึงพอใจต่อการพัฒนาศูนย์วิทยบริการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต  ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

       การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป้นนักศึกษาทั้งภาคปกติและภาค กศ.บป.  อาจารย์  ข้าราชการ  เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย  เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์  การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การสนทนากลุ่มย่อยและการตอบแบบสอบถาม

       ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการ  การให้บริการ  พบว่า  เป็นปัญหาด้านบุคลากรมีบุคลิกภาพและปฏิบัติงานไม่เหมาะสมกบัหน้าที่การให้บริการ  ทรัพยากรสารสนเทศมีหนังสือและสารสารภาษาอังกฤษน้อย  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย  หนังสือไม่มีในชั้นตามที่ค้นหาจากบัตรรายการ  ด้านสถานที่มีโต๊ะ  เก้าอี้  สำหรับอ่านวารสารและหนังสือพิมพ์ไม่พอเช่นกัน  การจัดวางยังไม่เหมาะสม  บรรยากาศไม่จูงใจให้เข้าใช้บริการ  การประชาสัมพันธ์ไม่เด่นชัดและไม่ทั่วถึง  ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจ  พบว่าผู้ใช้บริการพึงพอใจในด้านการสืบค้นข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การจัดบริการยืม-คืน ได้รับความสะดวก รวดเร็ว  ด้านการรักษาความปลอดภัยของทรัพสินย์มีโทรทัศน์วงจรปิด  การบริการสื่อโสตทัศนวัสดุมีความทันสมัย  สถานที่มีความสะอาดและมีการสร้างบรรยากาศที่ดี  ส่วนการศึกษาแนวทางในการพัฒนาศูนย์วิทยบริการให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตตามความต้องการของผู้ใช้บริการ  พบว่าห้องสมุดมีชีวิตจะต้องมีสื่อการศึกษาหลากหลายรูปแบบและมีเนื้อหาสาระที่หลากหลายสาขาวิชาด้วย  บุคลากรจะต้องเพียงพอ  เป็นผู้ที่บุคลิกภาพเหมาะสม  มีจิตบริการและบริการด้วยความรวดเร็ว  การบริหารจัดการจะต้องมีระบบการบริการที่ทันสมัย  สะดวก  รวดเร็ว  และมีกิจกรรมหลากหลาย  มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี  รวมทั้งการจัดสถานที่  บรรยากาศให้น่าเข้าใช้บริการ  มีพื้นที่สีเขียว (ต้นไม้)  มีมุมผ่อนคลายและมุมเครื่องดื่ม  ผลจากการศึกาาครั้งนี้  ศูนย์วิทยบริการจึงได้พัฒนาสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตดังนี้คือ  ด้านบุคลากร  มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากร  และกำหนดให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้านการบริหารจัดการ  มีการจัดมุมกาแฟ  จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ออกพิมพ์เผยแพร่เดือนละ 2 ครั้ง  และจัดนิทรรศการหนังสือใหม่ทุกสัปดาห์  ด้านสื่อการศึกษา  ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการจัดหาสื่อการศึกษา  ส่วนด้านสถานที่  ได้จัดมุมสบายให้มีต้นไม้และบรรยากาศเหมือนบ้าน
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU