ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ปรากฏการณ์ความสำเร็จของการบริหารเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกพะยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Phenomenon of Success for sustainable Network Management of Local Community : Case study in Ban Knok Payom Community, Amphoe La-ngu, Satun Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย ดนุวัศ สุวรรณวงศ์
ผู้ร่วมวิจัยนาย นวิทย์ เอมเอก

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน, การบริหารเครือข่าย
บทคัดย่อ           การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกพะยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารเครือข่ายของชุมชนบ้านโคกพะยอม อยู่บนพื้นฐานของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน ทั้งในรูปแบบกลุ่ม กิจกรรม กลุ่มเยาวชน กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือที่เชื่อมโยงแบบเครือข่าย ได้แก่ บ้าน โรงเรียน และมัสยิด การสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ ของผุ้นำหรือแกนนำชุมชนผ่านการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารชุมชนภายใต้กลุ่มองค์กรภายในชุมชนที่หลากหลาย จนในที่สุดกลายมาเป็นการบริหารเครือข่ายเพื่อชุมชนที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนภายใต้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยมีการวางเป้าหมายการท่องเที่ยวไว้ว่า เพื่ออนุรักษ์ป่าชุมชน เผยแพร่องค์ความรู้ของชุมชน กำหนดกฎ กติกา และวางระเบียบภายในชุมชน รวมถึงสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชมชน
          ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกพะยอม พบว่า มี 10 ปัจจัย ได้แก่ (1) มีการเตรียมตนเองหรือเตรียมชุมชนเพื่อกำหนดทิศทางร่วมกัน (2) มีการทำงานเป็นทีม ทำงานด้วยความรัก สามัคคี (3) ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ (4) มีองค์กรชุมชนที่หลากหลายแต่มีเป้าหมายเดียวกัน (5) มีการบริหารหรือการจัดการร่วมในระดับชุมชนและการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม (6) มีกิจกรรมที่สอดแทรกการเรียนรู้ (7) เข้าใจและศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (8) มีการใช้ประโยชน์จาก Social Network (9) การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และ (10) สร้างเป้าหมายร่วมสู่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU