หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกคาร์บอนและไนโตรเจนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Applied research for Monitoring of Carbon and Nitrogen loading of onsite wastewater treatment in Songkhla Lake Basin
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. กมลนาวิน อินทนูจิตร
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว นัดดา โปดำ
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. ขวัญกมล ขุนพิทักษ์
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. หิรัญวดี สุวิบูรณ์
ผู้ร่วมวิจัย
นาย สอแหละ บางูสัน
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
2 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, ภาระบรรทุกคาร์บอน, ระบบบำบัดน้ำเสีย
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกคาร์บอนและไนโตรเจนของระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่กรณีศึกษา โดยมีอายุการใช้งาน 2 ช่วงคือ ติดตั้งระยะเริ่มแรก และติดตั้งมาได้ระยะหนึ่ง (3-5 ปี) ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจากการวัดปริมาณน้ำเสียในช่วงเวลาตลอดวัน พบว่าอัตราการไหลสูงสุดของน้ำเสียเข้าสู่ระบบคือช่วงเวลาเที่ยง เวลา 12.30 และ 14.30 น. เท่ากับ 1 และ 1.1 ลิตร/วินาที อัตราการไหลต่ำสุดคือช่วงเวลา จากการตรวจวัดลักษณะและสมบัติของน้ำเสียเปรียบเทียบกับธาตุอาหารหลักเพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์ พบว่า สัดส่วนของ BOD
5
ต่อ N ในรูปของ TKN อยู่ในช่วงเวลา 24.8:5 และ 32.5:5 ตามลำดับ ส่งผลทำให้มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่ต่ำ โดยมีสัดส่วนของไนโตรเจนสูงเมื่อเปรียบเทียบค่า BOD
5
และปริมาณภาระบรรทุกน้ำเสียในรูปของ TSS COD BOD
5
และ TKN เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับกรณีศึกษา อยู่ในช่วง 6.3-9.7 19.4-22.7 10.9-13.6 และ 1.7-2.4 กก./วัน ตามลำดับ น้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับกรณีที่ศึกษาในส่วนของถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศแบบแรกเริ่มและถังสำเร็จรูปแบบไร้อากาศระยะหนึ่งตามลำดับ ท้ายที่สุดสามารถสรุปปัญหาในภาพรวมของการจัดการน้ำเสียคือ ด้านวิศวกรรมและด้านการจัดการ โดยแบ่งเป็นด้านบุคลากร วัตถุดิบ เครื่องมือ กระบวนการ โดยพบว่า ปัจจัยด้านบุคคลมีความสำคัญมากที่สุด คือ ผู้ควบคุมหรือดูแลระบบไม่มีความเข้าใจในเรื่องระบบบำบัด รองลงมาคือ ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้อาคาร สุดท้ายคือไม่มีการตรวจสอบระบบบำบัดอย่างต่อเนื่อง
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU