ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การสำรวจสถานะองค์ความรูและแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนในตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Knowledge Exploration and DevelopmentLocal Wisdom For CulturalTourism Promotion : A Case Study on Klong – HaeCommunity,Hatyai District, Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการดร. ศิริรักษ์ จวงทอง

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 100,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ องค์ความรู้ แนวทางการพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
บทคัดย่อ                ชุมชนคลองแห มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวม และจัดการอย่างเป็นระบบจึงขาดโอกาสทีจะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับตลาดน้ำคลองแห ซึ่งมีการขายอาหารเป็นกิจกรรมหลักเท่านั้นทั้งๆที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา  ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบทและทุนชุมชน และค้นหาองค์ความรู้ การได้มา การถ่ายทอด และใช้ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการสัมภาษณ์กลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุและผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งการสังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ผลการศึกษา ในอดีตคลองแหเป็นชุมชนชนบทและประชาชนมีวิถีชีวิตการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท คนมีอาชีพหลากหลาย แต่อาชีพค้าขายรายย่อยมีมากที่สุด ประชากรประกอบด้วยชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ทุนของชุมชนที่สำคัญคือ วัดคลองแห มัสยิดกลาง ตลาดน้ำคลองแห หมู่บ้านหัตถกรรมกรงนก ทำเลใกล้เมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ และตั้งอยู่บนถนน ลพบุรีราเมศร์ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของจังหวัดสงขลา นอกจากนั้นคนดั้งเดิมในชุมชนคลองแห ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีและช่วยเหลือกันระหว่างบุคคลในครอบครัวและเพื่อนบ้าน รวมทั้งการร่วมงานส่วนรวม และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 
                การทำอาหารพื้นบ้าน การจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี งานหัตถกรรมกรงนก และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเช่น การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ที่วัดคลองแห และหมู่บ้านหัตถกรรมกรงนกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนางานหัตถกรรมกรงนก อาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นสินค้าที่ระลึก การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การแสดงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมประเพณีที่ตลาดน้ำคลองแหสำหรับนักท่องเที่ยวเป็นต้น  ผลจากงานวิจัยทำให้ชุมชน และเทศบาลมีข้อมูลสำหรับการทำแผนที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น นอกจากนั้นยังใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาทุนมนุษย์ในชุมชน
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU