หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจ สำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Research and Develop respiratory training tool for Winds Instrumentalist
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว พัชรี สุวรรณธาดา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การฝึกหายใจ, การหายใจสำหรับนักดนตรี, เครื่องมือฝึกการหายใจ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจสำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการหายใจสำหรับนักดนตรีเครื่องเป่า 2)เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการฝึกการหายใจ ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ทำให้นักดนตรีประเภทเครื่องลม สามารถเข้าถึงการใช้นวัตกรรม 3)เพื่อทดสอบเปรียบเทียบผลการใช้งานนวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจก่อนใช้และหลังใช้เครื่องมือ โดยศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกการหายใจที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จากนั้นเลือกเครื่องมือต้นแบบมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการฝึกการหายใจซึ่งมีราคาถูกและเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ในท้องที่ จากนั้นนำนวัตกรรมที่ได้มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนดนตรี อายุตั้งแต่ 12-25ปี จำนวน 25คน เป็นเวลา 1เดือน โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และทดสอบสมรรถภาพการหายใจด้วยการเป่าโน้ตยาว และจับเวลาที่สามารถทำได้ (Long Tone) ก่อนและหลังการทดลองใช้นวัตกรรม ขอบเขตของการวิจัยคือการเพิ่มปริมาตรอากาศที่มากที่สุดของการหายใจออกหลังจาก
ที่มีการหายใจเขามากที่สุด
ผลการวิจัยพบว่าค่า t-Stat เท่ากับ7.416523ซึ่งมีค่ามากกว่า t Critical one-tail ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.492159 สามารถนำมาทดสอบสมมติฐานได้ผลคือ ปฏิเสธสมมติฐานหลัก (H ) คือ สมรรถภาพการหายใจก่อนใช้ 0 นวัตกรรมและหลังใช้นวัตกรรม ไม่มีความแตกต่างกัน และยอมรับสมมติฐานรองคือ สมรรถภาพการหายใจ หลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าสมรรถภาพการหายใจก่อนใช้นวัตกรรม ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.1
กล่าวโดยสรุปคือ หลังจากกลุ่มตัวอย่างใช้นวัตกรรมฝึกการหายใจสำหรับนักดนตรีประเภทเครื่องเป่า
แล้วพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพการหายใจที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.1
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU