ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Salmonella spp. โดยยาปฏิชีวนะ และแบคทีเรียแลกติกที่สร้างสารยับยั้งซึ่งแยกมาจากอาหารหมักพื้นบ้าน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Isolation and classification of lactic acid bacteria with Salmonella spp. inhibiting efficiency from traditional Thai fermented foods

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. อัจฉรา เพิ่ม

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1ปี6เดือน
งบประมาณ 50,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ นักวิจัย
สถานะของผู้ประสานงาน นักวิจัย
ประเภทงานวิจัย กลุ่ม
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ยาปฏิชีวนะ แบคทีเรียแลคติก สารยับยั้ง อาหารหมักพื้นบ้าน
บทคัดย่อ การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกจากอาหารหมักพื้นบ้านจำนวน 15 ชนิด   สามารถคัดแยกแบคทีเรียแลคติกได้ 137 สายพันธุ์  พบว่ามีพีเอชอยู่ระหว่าง 3.29-6.15   ปริมาณความเค็มอยู่ระหว่าง 3-96%  นำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Salmonella Typhimurium 3292 และ Salmonella enteritidis 3289   โดย agar spot method  พบว่ามีแบคทีเรียแลคติกจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ LA15  LA64  LA72  และ LA80  สามารถยับยั้ง Salmonella spp. ได้ดี   โดยในสภาวะที่มีการสร้างกรดแลคติกแต่จำกัดไฮโดรเจนเปอร์-ออกไซด์  พบว่า LA15 และ LA64 สามารถยับยั้งได้ทั้งเชื้อ Salmonella Typhimurium 3292 และ Salmonella enteritidis 3289   และในสภาวะที่จำกัดการสร้างกรดแลคติก และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พบว่า LA72 และ LA80 สามารถยับยั้งได้ทั้งเชื้อ Salmonella Typhimurium 3292 แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella enteritidis 3289    เมื่อนำ LA15  LA64  LA72 และ LA80 มาเปรียบเทียบกับ      Lactobacillus casei (LA*)   ซึ่งใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ  พบว่าความสามารถในการยับยั้งของเชื้อแต่ละ    สายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อศึกษาการสร้างสารแบคเทอริโอซินด้วยวิธี well diffusion assay ไม่พบแบคทีเรียแลคติกสายพันธุ์ใดสามารถสร้างแบคเทอริโอซินได้
 
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU