ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาอาจารย์สถาบันราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Study on Trends of Faculty Development in Songkhla Rajabhat Instiute.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย พินิจ ดำรงเลาหพันธ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2547
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ อาจารย์ใหม่, อาจารย์เก่า,ผู้บริหารระดับกลาง, การพัฒนาอาจารย์
บทคัดย่อ              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรค ความต้องการในการพัฒนาตนเองของอาจารย์ และเพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาอาจารย์สถาบันราชภัฏสงขลาตามภารกิจ 5 ด้าน คือ ด้านการสอน  การวิจัย  การบริหารชุมชน  การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และด้านการบริหารประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาสุ่มจาก อาจารย์สถาบันราชภัฏสงขลา 3 กลุ่ม คือ อาจารย์ใหม่ จำนวน 16 คน อาจารย์เก่าจำนวน 16 คน และผู้บริหารระดับกลาง จำนวน 4 คน รวม 36 คน จาก 4 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์  สาขาสังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์อาจารย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา  โดยการวิเคราะห์กลุ่มคำ จัดทำสารบบจำแนกประเภท และสร้างข้อมูลสรุป
             ผลการวิเคราะห์พบว่า  ทั้งอาจารย์ใหม่และอาจารย์เก่าปัญหาในด้านการสอนที่มีมากที่สุด คือ ขาดอุปกรณ์สื่อการสอน โดยอาจารย์ใหม่ต้องการความรู้ทางด้านเทคนิคและวิธีการสอน ส่วนอาจารย์เก่าต้องการห้องสมุดที่มี ซีดี วีซีดี หนังสือ วารสาร และตำราที่หลากหลายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ แนวทางในการพัฒนาอาจารย์ด้านการสอน คือ ให้อาจารย์ได้ศึกษาต่อ ฝึกอบรมสัมนา เพื่อพัฒนาศักยภาพ  ในด้านการวิจัย อาจารย์ใหม่ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์ ในการทำวิจัย ในขณะที่อาจารย์เก่ามีภาระงานมากไม่มีเวลาทำงานวิจัย  อาจารย์ใหม่ต้องการความรู้ในเรื่องวิธีการวิจัย  ส่วนอาจารย์เก่าต้องการเงินทุนสนับสนุนและเวทีเสนอผลการวิจัยหรือบังคับให้อาจารย์ทุกคนทำงานวิจัย  และผู้บริหารระดับกลางเสนอแนวทางเกี่ยวกับแหล่งทุนในการวิจัย  ปัญหาทางด้านการบริการชุมชนของทั้งอาจารย์ใหม่และเก่า คือ ขาดการสนับสนุนจากสถาบันและชุมชนไม่เห็นความสำคัญ โอกาสบริการชุมชนจึงมีน้อย   โดยอาจารย์ใหม่ต้องการเข้าไปแก้ปัญหาชุมชน  อาจารย์เก่าต้องการอบรมเป็นวิทยากรที่ดี  ส่วนแนวทางเกี่ยวกับด้านนี้อาจารย์ใหม่เสนอแนวทางว่า สถาบันควรให้เวลาและโอกาสอาจารย์ในเรื่องการบริการชุมชน อาจารย์เก่าเสนอว่าควรมีความร่วมมือระหว่างสถาบันกับชุมชนในการจัดกิจกรรมต่างๆและผู้บริหารระดับกลางเสนอเพิ่มเติม คือ ให้ความรู้กับอาจารย์ในเรื่องบริการชุมชน  ส่วนในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรมปัญหาของอาจารย์ใหม่คือ ขาดความรู้ความเข้าใจ อาจารย์ใหม่ขาดความรู้ความเข้าใจ อาจารย์เก่ามีปัญหาขาดแหล่งสนับสนุนเงินทุน โดยทั้งอาจารย์ใหม่และเก่าต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจและทำการวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทั้งอาจารย์ใหม่และอาจารย์เก่าเสนอแนวทางให้สถาบันส่งเสริมกิจกรรมและงานวิจัยทางด้านนี้  ส่วนผู้บริหารระดับกลางเสนอแนวทางให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมแก่อาจารย์ และปัญหาทางด้านการบริหารของทั้งอาจารย์ใหม่และอาจารย์เก่า คือ มีส่วนร่วมน้อยและมีความรู้ในเรื่องการประเมินคุณภาพน้อย  โดยอาจารย์ใหม่ต้องการความรู้เรื่องการบริหารและประเมินคุณภาพ  อาจารย์เก่าต้องการมีส่วนร่วมในการบริหาร และประกันคุณภาพ แนวทางในการพัฒนาอาจารย์ด้านบริหาร อาจารย์ใหม่เนอให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการบริหาร  อาจารย์เก่าเสนอว่าให้ความรู้ด้านบริหารกับอาจารย์  ส่วนผู้บริหารระดับกลางเสนอแนวทางโดยการจัดวางนโยบายพัฒนาและแยกสายงานบริหารให้ชัดเจน
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU