หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และการตลาดถั่วลิสงอบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Growing, Processing & Marketing Development of Roast Peanut as a Community Product
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน
ผู้ร่วมวิจัย
นาย พินิจ ดำรงเลาหพันธ์
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. อังคณา ธรรมสัจการ
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. ณฐมน เสมือนคิด
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
เครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การปลูก, การตลาด, ถั่วลิสง, ชุมชน, เกษตร
บทคัดย่อ
เกษตรกรบ้านทรายทองพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกรหรา จังหวัดพัทลุง ปลูกถั่วลิสงหลังฤดูทำนาเป้นอาชีพเสริม เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นการสร้งกำลังต่อรองในการขายผลิต คณะผู้วิจัยจึงได้ร่วมกับกลุ่มเกตรกรทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปถั่วลิสง เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยทำการทดสอบถั่วลิสง 10 พันธ์ ในพื้นที่เป้าหมาย กลุ่มที่มีเมล็ดขนาดเล็กถึงปานกลางได้แก่พันธ์กาฬสินธุ์ 1 กาฬสินธุ์ 2 มข.40 ขอนแก่น 5 ขอนแก่น 60-2 พันธ์ที่ปลูกอยู่แล้วในพื้นที่ 2 พันธ์คือไทนาน 9 และพันธ์ สข.38 และกลุ่มที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ได้แก่พันธ์เกษตรศาสตร์ 50 ขอนแก่น 60-3 และขอนแก่น 6 ผลการทดลองพบว่าการปลูกถั่วลิสงแบบอาศัยน้ำฝน ตามสภาพการปฏิบัติจริงของเกษตรกร คือกะระยะปลูกเอง (ประมาณ 30*30 ซม.) ใส่ปุ๊ยสูตร 8-24-24 ในอัตรา 10 กก./ไร่ ถั่วลิสงพันธ์ สข.38 ให้ผลผลิตน้ำหนักฝักสด น้ำหนักฝักแห้ง และน้ำหนักเมล็ดแห้งสูงที่สุด คือ เท่ากับ 700.00 427.50 และ 295.50 กก./ไร่ ในขณะที่การปลูกตามคำแนะนำของกรมวิาการเกษตร ระยะปลูก 25*30 ซม. ใส่ปุ๊ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ถั่วลิสงพันธ์กาฬสินธุ์ 1 ให้น้ำหนักฝักสดสูงที่สุด คือ เท่ากับ 816.67 กก./ไ่ร พันธ์ไทนาน 9 ให้น้ำหนักฝักแห้ง และน้ำหนักเมล็ดแห้งสูงสุด คือ เท่ากับ 475.83 และ 366.67 กก./ไร่ ส่วนถั่วลิสงกลุ่มที่มีเมล็ดฝักขนาดใหญ่ได้แก่ พันธ์เกษตรสาสตร์ 50 ขอนแก่น 60-3 และขอนแก่น 6 ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ โดยมีน้ำหนักฝักสดอยู่ในช่วง 430 ถึง 490 กก./ไร่ ในการปลูกแบบเกษตรกร และ 550-640 กก./ไร่ เมื่อปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรซึ่งการปลูกแบบหลังให้ผลผลิตที่สูงกว่าการปลูกในสภาพการปฏิบัติจริงของเกษตรกร เนื่องจากมีจำนวนต้นต่อไร่ และได้รับปุ๊ยในอัตราที่สูงกว่า
ถั่วลิสงกลุ่มที่ให้เมล็ดขนาดใหญ่เป็นที่ชื่อนชอบของเกษตรกร แค่เนื่องจากผลผลิตถั่วลิสงพันธ์ดั้งเดิมที่เคยปลูกให้ผลผลิตสูงกว่ามาก จึงตัดสินใจที่จะพัฒนาจากถั่วลิสงพันธ์ที่เคยปลูกอยู่เดิมคือพันธ์ไทนาน 9 โดยร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา 3 ชนิด ได้แก่ เมี่ยงคำสำเร็จรูปจากถั่วลิสงผสมข้าวพอง ถั่วลิสงผสมข้าวเม่าปรุงรส และถั่วลิสงทั้งเปลือกอบเกลือ ปรากฏว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเลือกที่จะผลิตถั่วลิสงอบเกลือเป้นสินค้าของกลุ่มต่อไป เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากสามารถเก็บไว้ได้นาน ขั้นตอนการผลิตถั่วลิสงมีเปลือกอบเกลือให้ปลอดภัยจากสารอะฟาทอกซินต้องคัดคุณภาพของถั่วลิสงให้ดี ร่วมกับการลบ้างน้ำให้สะอาดจะช่วยลดปริมาณสารอะฟาทอกซินได้อีกทั้งต้องไม่ใช่ถั่วลิสงที่เสียมีเชื้อราหรือมีตำหนิอื่น ๆ เข้าสู่กระบวนการผลิตโดยเด็ดขาด จากนั้นแช่ถั่วลิสงสดในน้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 15 เป็นเวลา 24 ชม. เพื่อให้เมล็ดถั่วภายในมีรสเค็ม แล้วอบให้แห้ง นำไปคั่วจนสุก เพื่อให้มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 3 อย่างไรก็ตามแม้ว่าการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำจะสามารถลดปริมาณสารอะฟาทอกซินได้ แต่ต้องล้างด้วยน้ำจำนวนมาก หลายๆครั้ง ซึ่งหากเป็นถั่วลิสงมีเปลือกอบเกลือจะลดปริมาณสารอะฟาทอซินได้เฉพาะในส่วนเปลือกเท่านั้นไม่สามารถกำจัดสารอะฟาทอกซินในเมล็ดได้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพตั้งแต่วัตถุดิบเริมแรก นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้ช่วยปรับปรุงตู้ลมร้อนของกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น และได้ออกแบบเครื่องคั่วถั่วลิสงแบบใช้มอเตอร์หมุน ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้ไว้ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงอบเกลืออีกต่อไป
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU