หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
โครงการฟื้นฟูโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Project on reviving the Nora Performancein BaanKating School Tubchang Subdistrict Nathawee district Songkhla Province
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. ทัศนียา คัญทะชา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ทับช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
โนรา, บ้านกระทิง, อำเภอนาทวี, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติโนราโรงเรียนบ้านกะทิง ถ่ายทอดการรำโนราบทประถม และรำตัวอ่อนให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านกะทิง
ผลการวิจัยพบว่า โนราโรงเรียนบ้านกะทิง ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เริ่มฝึกโนราขึ้นเมื่อปี 2528 โดยนายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ถ่ายทอดโนราบทครูสอน บทสอนรำ บทประถม และโนราตัวอ่อนให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 การฝึกช่วงแรกฝึกกับเทป จากนั้นได้ฝึกครูและชาวบ้านตีเครื่องดนตรีโนราจำนวน 4 คน นักเรียนที่สามารถรำโนราได้ทั้งหมด 5 รุ่น จำนวน 50 คน โนราโรงเรียนบ้านกะทิงได้เผยแพร่การรำโนราทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดทั่วประเทศเป็นระยะเวลา 10 ปี เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปการแสดงพื้นบ้าน ระดับประถมศึกษา ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาเมื่อปี 2535 นายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ได้ย้ายราชการไปประจำที่สถาบันราชภัฏสงขลาแต่ยังคงกลับมาฝึกโนราให้โรงเรียนบ้านกะทิงอย่างต่อเนื่องอีก 3 ปี ต่อมาเมื่อปี 2539 นายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ มีภาระงานสอนมากขึ้น จึงไม่สามารถกลับมาฝึกโนราได้อีก โนราบ้านกะทิงจึงไม่มีกิจกรรมการฝึกโนราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การถ่ายทอดโนราบทประถม ผู้วิจัยเริ่มถ่ายทอดจากการยืดหยุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโนรา 9 ท่า ต่อด้วยการวางโครงสร้างมือและเท้าสำหรับการรำโนรา จากนั้นถ่ายทอดท่าการรำประสมท่า ซึ่งประกอบด้วยท่ารำเพลงโค 17 ค่า ท่านาดช้า 5 ท่า และเพลงนาดเร็ว 1 ท่า จากนั้นฝึกการร้องบทและฝึกรำบทประถมแบบสั้นมีท่ารำประถมทั้งหมด 21 ท่า ต่อด้วยการรำเพลงครูอีก 7 ท่า นักเรียนโรงเรียนบ้านกะทิงที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกโนราบทประถมมีทั้งหมด 14 คน ส่วนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกโนราตัวอ่อนมีทั้งหมด 8 คน ผุ้วิจัยเริ่มฝึกโนราตัวอ่อนด้วยการดัดร่างกายด้วยท่าโนราตัวอ่อน 8 ท่า หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดท่ารำโนราตัวอ่อน 19 ท่า เป็นท่าเดิมของนายธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ 17 ท่า และท่าที่ถ่ายทอดเพิ่มเติม 2 ท่า
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU