ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาภูมิหลัง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีการศึกษา 2551
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Study of Student is Background, Study Achievements, and the Efficiency Management Education of Songkhla Rajabhat University Of the Academic Year 2009

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. พิกุล สมจิตต์
ผู้ร่วมวิจัยนาย เสรี ชะนะ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2553
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ภูมิหลัง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ประสิทธิภาพการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
บทคัดย่อ        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ  เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  ปีการศึกษา 2551  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าเรียนและหลังเข้าเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1  เพื่อวิเคราะห์ผลการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาโดยส่วนร่วม  และจำแนกตามสาขาวิชา  และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตโดยภาพรวม  และจำแนกตามสาขาวิชา  ประชากรที่ศึกษา  ได้แก่  นักศึกษาปริญยาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่เข้าศึกษาในปี พ.ศ.2551  มีจำนวน 1,428 คน  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1,225 คน และชั้นปีที่ 3 หลักสูตร 2 ปีหลังอนุปริญญา จำนวน 203 คน  แฃะนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2551  จำนวน 1,520 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  ระเบียนประวัตินักศึกษาระดับปริญญาตรี  โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่  ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา  ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2  และข้อมูลนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2551  วิธีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมุลด้วยการตรวจสอบ  คัดลอกเอกสารจากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  วิเคราะห์ข้อมูลภูมิหลัง  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยสถิติร้อยละ  เปรียบเทียบสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ด้วยสถิติไคสแควร์  และหาประสิทธิภาพของการผลิตบัณฑิตด้วยสถิติร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา  ร้อยละของผู้สำเร็จหลังกำหนดเวลา  และร้อยละของนักศึกษาที่ออกกลางคัน

ผลการวิจัยพบว่า

       1. สภาพภูมิหลังของนักศึกษา เพศ แบะอายุของนักศึกษา  

       นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 91.52 มีอายุอยู่ในช่วง 18-21 ปี  รองลงมาร้อยละ 7.37 มีอายุอยู่ในช่วง 22-25 ปี  และร้อยละ 0.60 มีอายุอยู่ในช่วงมากกว่า 26 ปีตามลำดับ  และถ้าจำแนกตามเพศพบว่าส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิงในคณะครุศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   คณะวิทยาการจัดการ  และคณะเทคโนโลยีการเกษตร  ส่วนคณะที่มีนักศึกษาชายเป้นส่วนใหญ่คือ  เทคโนโลยีอุตสาหกรรม  คณะศิลปกรรมศาสตร์  และคณะมนุษยาสตร์และสังคมศาสตร์  ภูมิลำเนาของนักศึกษา  นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 50.00 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา  รองลงมาร้อยละ 15.30 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลและนราธิวาสตามลำดับ  เมื่อจำแนกตามคณะพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ทุกคณะมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา  ศาสนา  นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 59.94 นับถือศาสนาพุทธ  รองลงมาร้อยละ 46.50 นับถือศาสนาอิสลาม  เมื่อจำแนกตามคณะพบว่ามีนักศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ได้แก่  คณะมนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์  คณะวิทยาการจัดการ  คณะศิลปกรรมศาสตร์  และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ยกเว้นคณะครุศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และคณะเทคโนโลยีการเกษตรที่นักศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ระดับผลการเรียนเฉลี่ยก่อนเข้าศึกษา   นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 96.61 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 รองลงมาร้อยละ 2.88 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ตามลำดับ  จำแนกตามคณะพบว่าทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00

       2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 

      
ในภาคเรียนที่ 1 นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 52.10 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00  รองลงมาร้อยละ 23.32 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 และร้อยละ 17.65 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ตามลำดับ  และถ้าจำแนกตามคณะพบว่าเกือบทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00  ยกเว้นคณะครุศาสตร์  และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49

       3. ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักศึกษาหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 2  

      
ในภาคเรียนที่ 2 นักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 49.44 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 2.00 รองลงมาร้อยละ 27.24 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49 และร้อยละ 17.09 มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.50-2.99 ตามลำดับ  และถ้าจำแนกตามคณะพบว่าเกือบทุกคณะนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 2.00 ยกเว้นคณะครุศาสตร์  และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01-2.49

       4. การเปรียบเทียบสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2

      
สัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาภาคปกติก่อนเข้าศึกษา  และหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 1 ไม่แตกต่างกัน  และสัดส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาภาคปกติก่อนเข้าศึกษา  และหลังเข้าศึกษาแล้วในภาคเรียนที่ 2 ไม่แตกต่างกัน

       5. ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

      
นักศึกษาที่สำเร็จการศ฿กษาตามเวลารวมทั้งสิ้นจำนวน 1486 คน  โดยเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการที่สำเร็จการศึกษามากที่สุด  ร้อยละ 41.72  รองลงมาได้แก่  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร้อยละ 15.95 และคณะครุศาสตร์ร้อยละ 12.25 ตามลำดับ  นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลังเวลาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร้อยละ 58.82  รองลงมาได้แก่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ร้อยละ 29.41  และคณะวิทยาการจัดการ ร้อยละ 45.23 ตามลำดับ  สัวนอัตราการสูญเปล่าทางการศึกษาคิดจากการออกกลางคันของนักศึกษา  มีจำนวนทั้งสิ้น 692 คน  ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาของคณะวิทยาการจัดการร้อยละ 45.23  รองลงมาได้แก่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 18.35 และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร้อยละ 12.57 ตามลำดับ
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU