ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย วิทยาศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสุขภาพและชุมชนในการศึกษากระบวนการทำข้าวซ้อมมือโดยอาศัยสมบัติเชิงฟิสิกส์
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Integrated Science and Local Wisdom for Health and Community in the Study of Process of Coarse Rice Product by Used Physical Properties

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. อนุมัติ เดชนะ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 75,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ กระบวนการของภูมิปัญญาชาวบ้าน, สมบัติเชิงฟิสิกส์ , การทำข้าวซ้อมมือ
บทคัดย่อ           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการของภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำข้าวซ้อมมือ  คู่ขนานกับสมบัติเชิงฟิสิกส์ เพื่อให้ได้แนวทางในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือหรือเครื่องกะเทาะเปลือกข้าวโดยผสมผสานระหว่าง ภูมิปัญญาชาวบ้านกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลผลิตข้าวซ้อมมือที่มีประสิทธิภาพที่ดี

          ผลการวิจัยการศึกษาองค์ประกอบของเครื่องสีข้าวโดยทั่วไปจะประกอบด้วยชิ้นอุปกรณ์หลักๆ 3 ส่วนคือ 1) มือจับและคานโยก 2) แป้นบดตัวบนพร้อมถาดรับใส่ข้าวเปลือกที่จะสี 3) แป้นบดตัวล่างรอบๆเป็นถาดรับข้าวเปลือกที่ผ่านการสีแล้วสำหรับปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการสีข้าวกล้องสังข์หยดที่ได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ที่สุด 72-76% ขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันสีของครกบดที่ทำมุม 41-42 องศา ที่ความชื้น -2.14 %MC และน้ำหนักในการกดทับครกบดส่วนที่หมุนเฉลี่ย 27.8 kg นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนครั้งที่เหมาะสมที่สุดในการสีมีค่าไม่เกิน 2 ครั้งต่อเนื่องกัน ที่ความถี่ในการหมุนของครกบดเท่ากับ 1 รอบต่อวินาที สามารถนำไปออกแบบครกสีที่ผสมผสานระหว่างแบบดั้งเดิมกับแบบสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU