ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Music for Nang-talung, Shadow Puppet Plays, in Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. ไชยวุธ โกศล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 110,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ หนังตะลุง, ดนตรีพื้นบ้าน, ดนตรี
บทคัดย่อ           งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการศึกษาทางมานุษยดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของวงดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ 2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบาทและความสำคัญของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่  การดำเนินการวิจัยใน 6 ขั้นตอน คือ 1) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากหนังตะลุงรูปแบบเดิมและรูปแบบปัจจุบันกลุ่มละ 1 คณะ 2) สร้างเครื่องมือและเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล 3) รวบรวมข้อมูลเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามในระหว่าง พ.ศ. 2554-2556  4) จัดหมวดหมู่และตรวจสอบข้อมูล ถอดเทปบันทึกการสัมภาษณ์ บันทึกเสียงและบันทึกการแสดง จัดทำโน้ตเพลง 5) วิเคราะห์ข้อมูลด้านรูปแบบของวงดนตรี 6) สรุปและอภิปรายผลการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต
ผลการวิจัยพบว่า
          1) รูปแบบของวงดนตรีหนังตะลุงแบบเดิมใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งประกอบด้วยปี่ ทับ กลอง ตุ๊ก โหม่ง ฉิ่งและแตระเรียกว่าวงเครื่องห้า ต่อมาได้นำกลองชุดและทอมบามาใช้บรรเลงแทนกลองตุ๊กแบบเดิม ส่วนวงดนตรีรูปแบบใหม่นั้นเป็นการนำเครื่องดนตรีสากล เช่น กีตาร์ เบส คีย์บอร์ดและกลองชุด มาบรรเลงร่วมกับเครื่องห้าแบบเดิม
          2) ในวงดนตรีหนังตะลุงแบบเดิมปี่มีหน้าที่บรรเลงทำนองเพลง ทับมีหน้าที่ควบคุมการบรรเลง กลองมีหน้าที่บรรเลงจังหวะเสริมกับทับ ฉิ่งและแตระมีหน้าที่บรรเลงจังหวะ ในวงดนตรีหนังตะลุงแบบใหม่ปี กีตาร์ เบสและคีย์บอร์ดมีหน้าที่บรรเลงทำนองเพลง โดยปี่และคีย์บอร์ดมีหน้าที่บรรเลงนำ กลองชุดมีหน้าที่ควบคุมจังหวะหลัก ทับมีหน้าที่บรรเลงจังหวะในเพลงแบบเดิมและประกอบการขับบท ฉิ่งและแตระมีหน้าที่บรรเลงจังหวะ
          3) บทเพลงที่ใช้ประกอบหนังตะลุงแบบเดิมใช้บทเพลงไทยและเพลงเฉพาะ ส่วนหนังตะลุงรูปแบบใหม่ใช้บทเพลงแบบเดิมบรรเลงในช่วงที่เป็นขั้นตอนพิธีกรรมหลัก และใช้เพลงสมัยนิยมบรรเลงในขั้นตอนการแสดงทั่วไป บทเพลงที่ใช้ของหนังตะลุงแบบดั้งเดิมกับหนังตะลุงแบบสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันทั้งทำนองเพลง รูปแบบจังหวะของทับและกลอง และรูปแบบจังหวะของโหม่งและฉิ่ง
          ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและบทเพลงไปตามสมัยนิยม ทำให้เครื่องดนตรีและบทเพลงดั้งเดิมบางส่วนได้ถูกตัดทอนไป มีการนำเครื่องดนตรีและบทเพลงสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น ดนตรีได้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากที่เคยเป็นผู้เล่นตามลีลาของนายหนัง กลายเป็นผู้นำลีลาของนายหนัง เนื่องจากนักดนตรีสมัยใหม่บรรเลงตามโน้ต ไม่ได้บรรเลงด้วยปฏิภาณเหมือนแบบดั้งเดิม จึงควรมีการหาแนวทางอนุรักษ์และเผยแพร่ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงรูปแบบดั้งเดิมให้คงอยู่ก่อนจะสูญหายไปมากกว่านี้
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU