หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กระบวนการจัดการความขัดแย้งของชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Local Wisdom: The Process of conflict Management by local Communities in Songkla Lake Basin
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย ปารย์พิรัชย์ จันเทศ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
4 ปี
งบประมาณ
100,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ชุมชนท้องถิ่น, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, การจัดการความขัดแย้ง
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กระบวนการจัดการความขัดแย้งของชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ เพื่อศึกษาถึงบริบทและข้อมูลของชุมชนในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม โครงสร้างความสัมพันธ์ ปัญหาและบทเรียนจากอดีต และเพื่อถอดบทเรียน รูปแบบ วิธีการ กระบวนการในการจัดการความขัดแย้ง และจัดทำชุดความรู้ภูมิปัญญาของชุมชน ในประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองสมานฉันท์ และการบริหารจัดการตำบล
ผลการศึกษา ในประเด็นการเมืองสมานฉันท์ พบว่า ท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรชุมชน มีลักษณะการดำเนินงานเป็นการประสานภาคส่วนทั้ง 3 ภาคส่วนเข้าด้วยกัน โดยประสานประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะ การรวมกลุ่มชวนคิดชวนคุยประเด็นที่เป็นปัญหาของชุมชน มีการจัดเวทีประชุมร่วมกันเพื่อกลั่นกรองแผนแม่บทชุมชน หรือเรื่องอื่นๆ เดือนละ 1 ครั้ง และรับเรื่องร้อยเรียนต่างๆ จากคนในชุมชนนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการเลือกตั้ง การแก้ปัญหาการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชมชนรวมถึงให้โอกาสสำหรับคนที่แพ้การเลือกตั้งเข้ามาร่วมในการพัฒนาชมชน เช่น เป็นประธานกลุ่ม เป็นหัวหน้าโครงการที่ท้องถิ่นดำเนินการ เป็นต้น
ผลการศึกษาประเด็นการบริหารจัดการตำบล พบว่า การบริหารจัดการตำบลแนวใหม่ของตำบลท่าข้าม ผสมผสานทั้งแนวคิดเชิงโครงสร้างหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในหมวดที่ 14 และ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลได้ให้ไว้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เรียกว่า ระบบการเรียนรู้ชุมชน 8 ระบบ โดยในแต่ละระบบจะมีแกนนำที่มีความเชี่ยวชาญประจำทั้ง 8 ระบบ แนวคิดทั้ง 8 ระบบถูกตั้งขึ้นโดยมีฐานคิดในแต่ละประเด็นสอดคล้องปัญหาของชุมชน ดังนั้น การมีระบบเรียนรู้ทั้ง 8 ระบบเป็นกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชนตำบลท่าข้าม
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไปว่า ควรมีการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนว่า มีลักษณะความเป็นผู้นำอย่างไร ที่ทำให้คนในชุมชนหันมาร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงหลักคิด วิธีการ ในการทำงาน เป็นต้น
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU