หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การลดความปนเปื้อนของตะกั่ว และสารหนูในสาหร่ายผมนาง โดยการชะแบบกะเพื่อพัฒนาคุณภาพยำสาหร่ายเกาะยอ
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Contamination Reduction of Lead and Arsenic in Gracilaria fisheri by Batch Desorption for Quality Development of Yam Sarai Koh Yor
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. จารุวรรณ คำแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ปีงบประมาณ
2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
4 ปี
งบประมาณ
345,700 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เกาะยอ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
สาหร่ายผมนาง, ตะกั่ว, สารหนู, การชะแบบกะ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการลดปริมาณตะกั่ว และสารหนู ที่ปนเปื้อนในสาหร่ายผมนาง G. fisheri โดยการชะแบบกะ ให้มีปริมาณลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์สาหร่าย (มผช.515/2547) และเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำยำสาหร่ายเกาะยอต่อไป ในการศึกษาได้ใช้ตัวชะหลายชนิดที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารตามปริมาณที่กฏหมายอาหารและยากำหนด ได้แก่ กรดอะซิติก กรดซิตริก กรดเอธิลลีนไดเอมีนเททราอะซิติก (อีดีทีเอ) โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต และไคโตซาน โดยศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการชะตะกั่วและสารหนู ได้แก่ ชนิดของตัวชะ ความเข้มข้นของตัวชะที่เหมาะสม ปริมาณของตัวชะที่เหมาะสม และระยะเวลาในการชะของตัวชะที่เหมาะสม เมื่อควบคุมสภาวะของการชะโดยการเขย่าแบบไป-กลับ ที่ 100 รอบต่อนาที (rpm) ณ อุณหภูมิห้อง จากการศึกษาพบว่า สารละลายอีดีทีเอ เข้มข้น 0.1 โมลาร์ สามารถชะตะกั่วและสารหนู ออกจากสาหร่ายผมนางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดถึงร้อยละ 79.94 และ 98.04 ตามลำดับ เมื่อใช้ปริมาตรในการชะเท่ากับ 75 มิลลิลิตร และใช้เวลาในการชะเท่ากับ 120 นาที ทำให้ปริมาณตะกั่วและสารหนู ในสาหร่ายผมนางลดลงจาก 3.19
+
0.10 เป็น 0.64
+
0.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-น้ำหนักแห้ง และจาก 4.60
+
0.15 เป็น 0.09
+
0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-น้ำหนักแห้งตามลำดับ จากนั้นได้นำสาหร่ายผมนางที่ผ่านการชะโลหะหนักด้วยสารละลายอีดีเอไปใช้เป็นวัตถุดิบในการยำสาหร่ายเกาะยอที่ผ่านการชะด้วย EDTA มากกว่าสาหร่ายเกาะยอที่ล้างด้วยน้ำ นอกจากนี้สาหร่ายผมนางมีปริมาณ EDTA ตกค้างที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด (CODEX, FAO/WHO Food Standards) แม้ว่าคุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายผมนางที่ผ่านการชะด้วยสารอีดีทีเอส่วนใหญ่ลดลงเพียงเล็กน้อยก็ตาม
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU