ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Development in Goat Marketing for the Economic Value Added of Goat Farmers in the Songkhla

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ชูตา แก้วละเอียด
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. ธนภัทร ยีขะเด
ผู้ร่วมวิจัยรศ.ดร. ประภาพร ยางประยงค์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว ธนัญญา ยินเจริญ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว สิริกันยา โชติช่วง
ผู้ร่วมวิจัยดร. อาชารินทร์ แป้นสุข

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 300,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การตลาดแพะ, เกษตรกรเลี้ยงแพะ, จังหวัดสงขลา, แพะเนื้อ, แพะนม
บทคัดย่อ
          การวิจัยเรื่องการพัฒนาการตลาดแพะเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนี้มี วัตถุประสงค์คือ (1)  เพื่อศึกษาศักยภาพปัจจุบันของการเลี้ยงแพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรในจังหวัดสงขลา (2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและ (3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการตลาดและศักยภาพการแข่งขันของผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา ิวีธการเก็บรวบรวมข้อมูลมีเครื่องมือคือแบบสอบถามและแบบประเด็นคําถามสําหรับการสัมภาษณ์จํานวนตัวอย่างมี 6 กลุ่ม รวมทั้งหมด 546 คนได้แก่กลุ่มที่หนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจํานวน 511 คนกลุ่มที่สองผู้ประกอบการผู้เลี้ยง 
แพะจํานวน 9 คนกลุ่มที่สามธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์แพะจํานวน 10 คนกลุ่มที่สี่เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงแพะจํานวน 5 คนกลุ่มที่ห้าผู้บริโภคจํานวน 6 คนและกลุ่มที่หกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการตลาดจํานวน 5 คนส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ค่าสัดส่วนและค่าร้อยละ 
        ผลการวิจัยศักยภาพปัจจุบันของการเลี้ยงแพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลา พบว่า ทั้งผู้เลี้ยงแพะเนื้อและแพะนมส่วนใหญ่เป็นเพศชายนับถือศาสนาอิสลาม มีการจัดการการเลี้ยงแพะคล้ายกันทั้งจํานวนแรงงานที่ใช้เลี้ยงแพะพื้นที่เลี้ยงแพะประสบการณ์การเลี้ยงแพะ และมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงแพะเพื่อจําหน่ายผลผลิตเป็นหลักส่วนการวิเคราะห์ศักยภาพบนฐานแนวคิดต้นทุนและผลตอบแทน พบว่าต้นทุนการเลี้ยงแพะประกอบด้วยต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่โดยต้นทุนผันแปรมีมูลค่าค่อนข้างสูงค่า พันธ์ุแพะที่เกษตรกรซื้อมามีสัดส่วนของต้นทุนสูงที่สุดในส่วนผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้มาจากการจําหน่ายแพะมีชีิวตเป็นสัดส่วนสําคัญที่สุดและปริมาณผลผลิตที่จุดคุ้มทุนโดยคํานวณจากราคาขายของแพะหนึ่งตัวเฉลี่ย 7,000  บาทคือเกษตรกรควรจะเลี้ยงแพะให้ได้น้ําหนักอยู่ที่ 17.1    กิโลกรัมต่อตัวึจงจะคุ้มทุนโดยจําหน่ายที่ราคา 152.7 บาทต่อกิโลกรัม 
         และผลการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจพบว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แพะเนื้อเน้นการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบทั้งในรูปแพะมีชีิวตเนื้อแพะแปรรูปอาหารสําเร็จรูปจากแพะอาหารหมักจากแพะและแพะกระป๋องและกลยุทธ์การกําหนดราคาที่เหมาะสมกลยุทธ์การเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายและกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายทั้งในระดับชุมชนระดับจังหวัด ระดับประเทศ และขยายกว้างขึ้นเป็นระดับสากลในส่วนผลิตภัณฑ์แพะนมมีผลผลิตหลายรูปแบบทั้งในรูปนมแพะพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรซ์เครื่องสําอางจากนมแพะโยเกิร์ตและไอศกรีมนมแพะทําให้มีกลยุทธ์ทางการตลาดแตกต่างกันแต่ควรเน้นกลยุทธ์การสร้างผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มในรูปนมแพะบรรจุขวดมีหลายรสชาติ กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้สึกหรือความเชื่อที่ดีในผลิตภัณฑ์ต่างๆของนมแพะ มีการโฆษณาให้เห็นประโยชน์จากนมแพะอีกทั้งควรแปรรูปนมแพะในรูปแบบอื่นๆเช่นเนยแข็งและชีส เป็นต้น 
         ส่วนผลการหาแนวทางพัฒนาการตลาดและศักยภาพการแข่งขันของผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดสงขลาจากสภาพแวดล้อมการผลิตแพะโดยการ SWOT Analysis  พบว่าทั้งแพะเนื้อและแพะนมในจังหวัดสงขลามีจุดแข็งและโอกาสคือมีพื้นที่การเลี้ยงที่เพียงพอผู้ผลิตก็สนใจที่จะเลี้ยงแพะและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็พร้อมที่จะสนับสนุนอีกทั้งผู้บริโภคหลักซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมและนักท่องเที่ยวมีความนิยมบริโภคแพะเป็นจํานวนมาก แม้มีจุดอ่อนและอุปสรรคบ้างเช่นเกษตรกรยังขาดการวางแผนด้านการผลิตการแปรรูปและการตลาดที่ดี อีกทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังมีน้อยควรมีกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์จากแพะเนื้อคือกล ยุทธ์การสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางและเข้มแข็ง โดยอาศัยความร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับแพะเพื่อช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนพื้นฐานความพอเพียงทําให้ทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวของ ผลิตภัณฑ์แพะเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อตอบสนองอุปสงค์ของผู้บริโภคในฤดูกาลที่แตกต่างกันอีกทั้งควรมีกลยุทธ์การขยายช่องทางการตลาดของแพะเนื้อให้มีหลากหลายระดับมีตัวแทนเพิ่มขึ้นทั้งตลาดระดับท้องถิ่น  ตลาดระดับจังหวัดตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศส่วนกลยุทธ์การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์จากแพะนมควรเน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์การจัดทําแผนการตลาดทั้งระยะสั้นระยะปานกลางและระยะยาวที่ชัดเจนรวมถึงควรส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมแพะมีโรงงานผลิตนมแพะจําหน่ายทั้งปลีก และส่งทั้งในและต่างประเทศอย่างเหมาะสมกับกําลังการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ของจังหวัดสงขลาโดยอาศัยการวางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 
 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU