ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การจัดการองค์ความรู้พลังงานทดแทนโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Knowledge management, renewable energy by local community organizations Tambol Khlongree Sathing Phra district, Songkhla

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว สุปราณี ชอบแต่ง

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 100,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ชุมชนท้องถิ่น, การจัดการองค์ความรู้, พลังงานทดแทน
บทคัดย่อ           การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเก็บรวบรวมข้อมูลโดย Focus group สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์ความรู้พลังงานทดแทนโดยองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบลคลองรี
          ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการใช้พลังงานทดแทนของชุมชนท้องถิ่น มีดังนี้ 1) เตาชีวมวล มีความต้องการใช้เพราะว่าประหยัดต้นทุน, ช่วยลดเวลา, มีความคงทน แต่ปัจจุบันความต้องการใช้ลดลงเพราะชาวบ้านเปลี่ยนอาชีพ 2) แก๊สชีวภาพ มีความต้องการใช้ในครัวเรือนและขยายผลไปสู่โรงเรียน ปัจจุบันความต้องการใช้ลดลงเพราะว่าไม่สะดวกในการป้อนมูลสัตว์ 3) ตู้อบแสงอาทิตย์ มีความต้องการใช้เพราะว่า ช่วยลดเวลา 4) เตาเผาถ่าน มีความต้องการใช้น้อย เพราะว่า ไม่แข็งแรง, ไม่เหมาะกับพื้นที่ 5) กังหันลม เดิมมี 1 ชุด เพื่อใช้ปั่นชาร์ตแบตเตอรรี่เครื่องเสียงสำหรับออกกำลังกายแต่พายุพัดถล่มชำรุดเสียหายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 จากประสบการณ์การใช้งานพบว่า การใช้งานไม่คุ้มทุนกับราคา
          รูปแบบการจัดการพลังงานทดแทนที่มีอยู่นุชมชนท้องถิ่นตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พบว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการทำงานเพื่อพัฒนาและสร้างตำบลสุขภาวะ การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและความสำนึกร่วมขององค์กรภาคีพัฒนาในตำบลที่มีต่อพลังงานท้องถิ่น เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมดุลของการดำรงชีวิต นับเป็นชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทน ที่มีผลดำเนินงานเป็นรูปธรรมท่านกลางสถานการณ์สังคมแห่งยุคการพึ่งพาเทคโนโลยี
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU