ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของ 232Th, 226Ra, 40K และ137Cs ในตัวอย่างทรายชายหาดจาก อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยใช้เทคนิคแกมมาสเปกโตรเมตรี
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Measurement and Analysis of Specific Activities 232Th,226Ra, 40K and 137Cs in Sand from Chana district and Tepa district in Songkhla province Using Gamma Ray Spectrometry

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. มูรณี ดาโอะ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ 2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ กัมมันตภาพจำเพาะ, เทคนิคแกมมาสเปกโตรเมตรี
บทคัดย่อ           ได้ทำการศึกษาและตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติ (40K, 226Ra และ 232Th)และนิวไคลดัมมันตรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น (137Cs)ในตัวอย่างทรายชายหาดจำนวนรวมทั้งสิ้น 100ตัวอย่าง ที่เก็บจากบริเวณหาดสะกอม อำเภอจะนะ (50 ตัวอย่าง) และหาดสร้อยสวรรค์ อำเภอเทพา (50 ตัวอย่าง)ของจังหวัดสงขลา สำหรับการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นในตัวอย่างทรายชายหาดทั้งหมดทำได้โดยใช้หัววัดรังสีแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง (HPGe) และระบบการวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโตรเมตรี และใช้แหล่งกำเนิดรังสีมาตรฐานดินชนิด IAEA/RGU-1, IAEA/RGTh-1, KCl และ IAEA/SL-2 ที่ได้รับการอนุเคราะห์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและคำนวณหาปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์ที่ต้องการ ทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ผล ณ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์นิวเคลียร์และวัสดุ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จากผลการวิจัย พบว่า ค่าพิสัยของปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะที่ตรวจวัดได้ในตัวอย่างทรายชายหาดบริเวณหาดสะกอม มีค่าอยู่ระหว่าง 122.06 – 1925.11Bq/kgสำหรับ 40K, 12.97 – 120.74 Bq/kgสำหรับ 226Ra, 6.47 – 179.63 Bq/kgสำหรับ 232Th  และ 1.18 – 9.91Bq/kgสำหรับ 137Cs  และมีค่าเฉลี่ยเป็น1021.37 ± 168.12Bq/kg, 41.90 ± 3.55 Bq/kg,39.26 ± 2.26 Bq/kg  และ 3.63 ±1.06Bq/kg ตามลำดับ  ส่วนค่าพิสัยของปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะที่ตรวจวัดได้ในตัวอย่างทรายชายหาดบริเวณหาดสร้อยสวรรค์ มีค่าอยู่ระหว่าง512.00 – 3955.88Bq/kgสำหรับ 40K,20.11 – 83.18 Bq/kgสำหรับ 226Ra, 3.75 – 94.68 Bq/kgสำหรับ 232Th  และ 1.77 – 9.30Bq/kgสำหรับ 137Cs  และมีค่าเฉลี่ยเป็น1983.32 ± 187.39 Bq/kg, 42.67 ± 4.00 Bq/kg, 37.98 ± 2.71 Bq/kgและ 4.19 ± 1.15Bq/kgตามลำดับ ได้นำผลการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติ (40K, 226Ra และ 232Th)ที่ตรวจวัดได้นี้ไปคำนวณหาค่าอัตราปริมาณรังสีแกมมาดูดกลืน (gamma-absorbed dose rate: D)ค่ากัมมันตภาพรังสีสมมูลของเรเดียม(radium equivalent activity: Raeq)ค่าดัชนีวัดความเสี่ยงรังสีที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย(external hazard index: Hex) และค่าปริมาณรังสียังผลที่ได้รับจากภายนอกร่างกายประจำปี (annual external effective dose rate: AEDout)ของบริเวณทั้งสองชายหาด และยังได้นำค่าที่คำนวณได้นี้มาเปรียบเทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้กับข้อมูลของนักวิจัยทางภาคใต้ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานประจำปีของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และข้อมูลที่เป็นค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ขององค์กรสหประชาชาติเกี่ยวกับผลของรังสีปรมาณู (United Nations Scientific Committee on the Effects of Atomic Radiation: UNSCEAR, 1988, 1993, 2000)
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU