หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ศึกษาการบริโภคอาหารฮาลาลและปัจจัยทางด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Study Consumption halal food and Factor of Marketing as effect to having halal food of Muslim people on Muang Songkhla Area
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว จิราภรณ์ ทองบุญยัง
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย
สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ
2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ปัจจัยด้านการตลาด, อาหารฮาลาล
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องการบริโภคอาหารฮาลาลและปัจจัยด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารฮาลาล ของชาวมุสลิม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีสมมติฐานในการวิจัย ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคทีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารฮาลาลของชาวมุสลิม เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม (ชาวมุสลิม) เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40-49 ปี ความต้องการในการซื้ออาหารฮาลาลเฉลี่ยต่อครั้ง 101-200 บาทต่อครั้ง ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,000-10,000 บาท มีความต้องการซื้ออาหารฮาลาลประเภทอาหารตามสั่งมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการบริโภคอาหารฮาลาล อยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจผู้ตอบแบบสอบถามในด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารฮาลาลกับเพศ พบว่า เพศหญิงมีระดับความพึงพอใจด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารฮาลาล มากว่า เพศชาย ผู้บริโภคอาหารฮาลาลมีความรู้เรื่องอาหารฮาลาล และมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารในระดับสูง โดยยึดหลักการบริโภคว่าต้องมีเครื่องหมายฮาลาลเพื่อเป็นเครื่องหมายยืนยันให้กับผู้ผลิตอาหารฮาลาล
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU