ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย แนวทางการพัฒนากลุ่มธุรกิจชุมชนสู่ศูนย์การเรียนรู้ กรณีศึกษากลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์สนามชัย จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว อัญญารัตน์ สุวรรณโณ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว พิราสินี ชัยคุณทวีโชติ
ผู้ร่วมวิจัยดร. วชิราภรณ์ ขุนจันทร์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว ผกามาศ ไพโรจน์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว ธธิรา ศิริพันธ์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว เปรมภาว์ ด้วงทอง

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2556
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.สนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ธุรกิจชุมชน, สนามชัย, ดอกไม้ประดิษฐ์, จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ                 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์สนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และศึกษาแนวทางการพัฒนากลุ่มดอกไม้สนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาสู่ศูนย์การ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์สนามชัย จังหวัดสงขลา ซึ่งได้แก่ หัวหน้าและสมาชิกกลุ่มดอกไม้สนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านในชุมชนสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาคเอกชน ภาคราชการ ผู้นำชุมชน ลูกค้า ผู้จัดหาปัจจัยการผลิต และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบบ้านโคกเมือง ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา ซึ่งเป็นศูนย์ในเรียนรู้ชุมชนต้นแบบในการศึกษาครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และใช้การสังเกต และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
                แนวทางการพัฒนากลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ บ้านสนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ได้ดังนี้
                1. ด้านผู้นำและทีมงานในการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ผู้นำในท้องถิ่นต้องตระหนักและให้ความสำคัญและมีบทบาทเป็นแกนหลักในการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ต้องมีบทบาทในการกระตุ้นและประสานงานให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอีกทั้งทีมงานในการพัฒนาต้องเป็นผู้มีความมุ่งมั่นและมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาชุมชน
                2. ด้านความร่วมมือ สมาชิกต้องมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมในการร่วมคิดร่วมดำเนินการรวมรับผิดชอบ เช่น การจัดประชุมเสมือนเป็นเวทีให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็น บอกสิ่งที่ต้องการ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ที่ประชุมช่วยกันหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาชุมชนต่อไป
                3. ด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน โดยการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร รวมถึงปัญหาหรือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน และเน้นให้สมาชิกในชุมชนไปศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาปรับปรุงพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
                4. ด้านการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยการสร้างผลผลิตต่าง ๆ จากทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุนชน และจะทำให้ชุมชน เกิดความเข้มแข็งได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อประชาสัมพันธ์และทำการตลาดในการขายสินค้าของชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
                5. ด้านการสร้างเครือข่าย การสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับงบประมาณ การตลาด องค์ความรู้ วิชาการต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
                จากแนวทางดังกล่าว กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์สามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน เพื่อพัฒนากลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ แชะชุมชนเองมีความเข้มแข็งและเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU