ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย องค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ครู
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ปรีดา เบ็ญคาร
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. ณรงค์ กาญจนะ
ผู้ร่วมวิจัยผศ. จงกล บัวแก้ว
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว นิพัทธา ชัยกิจ
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว ณิชภัทร ชัยวรากรณ์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว อังคณา อุทัยรัตน์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว เกวลิน ชัยณรงค์
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว เขมนิจ วัฒนทินโชติ
ผู้ร่วมวิจัยนาง กมลทิพย์ สมบูรณ์พงษ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2555
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 3 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้, รายการโทรทัศน์ครู, องค์ความรู้
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ครู แหล่งข้อมูลเป็นรายการโทรทัศน์ครูจำนวน 60 ตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสรุปองค์ความรู้และแนวคิดจากรายการโทรทัศน์ครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการแจกแจงความถี่และสังเคราะห์ได้เป็นองค์ความรู้และแนวคิดที่สำคัญด้านการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า สังเคราะห์ได้องค์ความรู้และแนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้ 40 ประเด็น ประเด็นที่นำเสนอมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่
          1) การใช้คำถามและพัฒนาทักษะการคิด เทคนิคพื้นฐานที่กระตุ้นให้นักเรียนคิดก็คือ การใช้คำถามครูสามารถสร้างกิจกรรมได้อย่างหลากหลายที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน ให้นักเรียนได้มีโอกาสตั้งคำถาม สร้างโจทย์ปัญหาเอง คาดเดาคำตอบเอง สร้างชื้นงานเอง คิดจินตนาการ ค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ระดมสมองกับเพื่อน แสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกับ
          2) การใช้สื่อ สื่อที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องราคาแพง ความคิดสร้างสรรค์ของครูสำคัญที่สุด ซึ่งสามารถเปลี่ยนของดูธรรมดาให้เป็นสื่อการสอนที่ดีมากได้ การใช้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของนักเรียน เช่น วัสดุ อุปกรณ์ บุคคลและสถานที่ต่างๆ ในท้องถิ่นมาเป็นสื่อการเรียนรู้ จะทำให้นักเรียนสัมผัสและได้เห็นของจริง นักเรียนจะเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจเนื้อหาที่จะสอนได้ง่ายขึ้น ครูควรใช้สื่อที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้อยากหลากหลาย
          3) การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ที่ดีคือ การได้ฝึกปฏิบัติ ได้มีโอกาสวางแผน คิดและตั้งคำถามที่น่าสนใจ แก้ปัญหาและประเมินผลงานตนเองและของเพื่อน รวมทั้งได้เรียนรู้กระบวนการและสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะ
          4) ด้านการสร้างเจคติที่ดีต่อการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข นักเรียนมีความสุขและมีเจคติที่ดีต่อการเรียนรู้เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สนุกสนาน สอดคล้องกับความสนใจ ได้ร้องเพลง ได้ถามในสิ่งที่พวกเขาอยากรู้ ทำในสิ่งที่อยากทำ ตื่นเต้นกับการเรียนรู้ ได้แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติและทำงานร่วมกับครู ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้โอกาสกับเวลาและนักเรียน สอนอย่างเป็นขั้นตอน ใจเย็น ไม่เร่งรัดนักเรียนเกินไป รวมทั้งใจดีและเป็นกันเองกับนักเรียน ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนอบอุ่น นอกจากนี้ ครูต้องเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
          5) ด้านการกระตุ้นความใส่ใจของนักเรียนและให้นักเรียนมีส่วนร่วม การตกแต่งห้องเรียนเพื่อทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่าได้อยู่ในสถานการณ์จริงในเรื่องนั้นๆ จะทำให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวามากขึ้น การใช้กิจกรรมที่แปลกใหม่ การให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญของเรื่องที่จะเรียน จะทำให้นักเรียนตื่นเต้นและสนใจเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้เกมการแข่งขัน ละคร หนังสั้น การเล่าเรื่อง โจทย์ท้าทาย การปฏิบัติจริง การเปิดโอกาสให้ห้องเรียนเป็นเวทีสำหรับการแสดงออกของนักเรียน การเรียนรู้นอกสถานที่ 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU