หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็น สำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Factor Analysis of Necessary Computer Information Communication and Technology Literacy for Teachers in ASEAN Countries
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. เพ็ญพักตร นภากุล
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กลุ่มประเทศอาเซียน, องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน 2) เพื่อศึกษาระดับการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียนของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู สังกัด เขตการศึกษาพื้นที่มัธยมศึกษาใน จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล ปี พ.ศ. 2557 จำนวนครู 300 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามองค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบเชิงสำรวจและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติ KMO (Kaiser-Meyer Olkin measure of sampling adequacy) และ Bartlett’s test of sphericity และวัดความเหมาะสมของข้อมูลโดยใช้วิธีการหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอล (Orthogonal rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น 3) ความรู้พื้นฐานด้านโปรแกรมและอุปกรณ์ร่วม 4) เจตคติต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ 5) เจตคติต่อผลกระทบจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ 6) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสาร 7) ทักษะการรู้สารสนเทศและการใช้แหล่งเรียนรู้บนเว็บ 8) ทักษะการจัดการข้อมูล เอกสารและการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
ระยะที่ 2 การศึกษาระดับการรู้คอมพิวเตอร์ ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 326 คน เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชั้นปีที่ 4 มีระดับการรู้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้านความรู้ความเข้าใจ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (
= 3.45) ด้านเจตคติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.91) และด้านทักษะ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (
= 3.49)
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU